พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ
เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์แขนหักศอก (นิยม)
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์แขนหักศอก (นิยม) ทั้ง 2 องค์นี้ เป็นพระสวยสภาพแชมป์ คมชัดทุกมิติ เนื้อสีดำ-นิยม ผิวเดิมๆ เป็นพระแท้ดูง่าย ติดรางวัลชนะเลิศจากงานประกวดพระฯ ที่รับรองโดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย มาแล้วหลายครั้ง
หลวงพ่อเชย ดิสฺสร เดิมชื่อ เชย เพชรประดิษฐ์ โยมบิดาชื่อ “ประดิษฐ์” โยมมารดาชื่อ “แก้ว” เกิดเมื่อ พ.ศ.2413 เกิดที่ ต.ท้องคุ้งบน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ช่วงเยาว์วัยบิดามารดาได้นำท่านไปฝากไว้กับ หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เพื่อรับการประสิทธิประสาทวิชาจากหลวงพ่อปาน จนอายุครบบวช ได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดบางกระสอบ เมื่อ พ.ศ.2435 โดยมี หลวงพ่อจันทร์ วัดท้องคุ้ง เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงพ่อเพิ่ม วัดหนามแดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ดิสฺสร”
หลวงพ่อเชย ได้รับการประสิทธิประสาทสืบทอดวิชาต่างๆ จาก หลวงพ่อปาน ทั้งพุทธาคม วิทยาคม วิปัสสนากัมมัฏฐาน อักขระและภาษาขอม จนมีความเชี่ยวชาญในด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ อีกทั้งยังแก่กล้าในด้านเวทมนต์คาถา ลงเลขยันต์
ต่อมาได้ช่วย หลวงพ่อปาน สร้างวัตถุมงคลต่างๆ จนสามารถจดจำกรรมวิธีได้อย่างละเอียดลออ เมื่อ หลวงพ่อปาน มรณภาพแล้ว ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางกระสอบแทน ท่านได้สร้างถาวรวัตถุ ปฏิสังขรณ์เสนาสนะให้เจริญรุ่งเรือง จนมีผู้เคารพนับถือศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก ท่านได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2475 สิริรวมอายุ 62 ปี พรรษา 40
หลวงพ่อเชย ได้สร้าง “พระปิดตาเนื้อคลุกรัก” พิมพ์ครึ่งซีก ด้านหลังโค้งมน ที่เรียกว่า “หลังประทุน” พิมพ์ทรงงดงามมาก ให้ความรู้สึกอุดมสมบูรณ์ สมดังลักษณะของ พระมหากัจจายนะกอปรด้วยพระอุทร (ท้อง) ที่อ้วนท้วน บ่งบอกความมั่งคั่ง พระกร (แขน) ที่ยกขึ้นปิดพระเนตร (นัยน์ตา) และพระกรที่โอบพระอุทร เป็นเส้นขนาดใหญ่ มั่นคง และลากขึ้นปิดพระกรรณ (หู) ทั้งสองข้าง รับกับพระเพลา (ตัก,ขา) ที่แสดงอาการประทับนั่ง แบบขัดเพชร ซึ่งกว้างเป็นพิเศษ แสดงถึงฐานที่รองรับพระวรกายอย่างมีเสถียรภาพ
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ มีศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง โดยไม่ได้รับอิทธิพลหรือแบบอย่างจากพระปิดตาของอาจารย์หรือสำนักอื่นใด มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระปิดตาของหลวงพ่อเชย ได้แก่ผงวิเศษที่ได้มาจากการเขียนและลบด้วยพระคาถา อันได้แก่ผงอิทธิเจ ซึ่งมีอานุภาพทางเสน่ห์มหานิยมอย่างประเสริฐ
นอกจากนี้ยังมีว่าน 108 อันประกอบด้วย ยอดมหาเสน่ห์ที่เรียกกันว่า ว่านดอกทอง ว่านเสน่ห์จันทน์ขาวเสน่ห์จันทน์แดง ฯลฯ และเกสรต่างๆ รวมทั้งต้นดีเหนียว ต้นระงับพิษ และต้นหงอนไก่ กับวัสดุมงคลและอาถรรพณ์ต่างๆ อีกมากมาย
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ แบ่งพิมพ์ตามลักษณะของพระกร (แขน) ออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์แขนหักศอก (นิยม) กับพิมพ์แขนกลม ปัจจุบันถือเป็นพระปิดตายอดนิยมพิมพ์หนึ่งของวงการพระเครื่องเมืองไทย ที่มีผู้แสวงหาอย่างกว้างขวาง และมี “พระปลอม” ออกมาแล้ว เช่นเดียวพระปิดตาที่นิยมกันทั่วๆ ไป ผู้สนใจจึงต้องเช่าบูชาจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น
ขอขอบพระคุณ
ข้อมูลจาก เฟสบุค“พระเครื่องเมืองพระประแดง” วัยหนุ่ม บางกระสอบ / และภาพพระปิดตา ของ นพ.มาณพ โกวิทยา
สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์แขนหักศอก (นิยม)
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์แขนหักศอก (นิยม) ทั้ง 2 องค์นี้ เป็นพระสวยสภาพแชมป์ คมชัดทุกมิติ เนื้อสีดำ-นิยม ผิวเดิมๆ เป็นพระแท้ดูง่าย ติดรางวัลชนะเลิศจากงานประกวดพระฯ ที่รับรองโดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย มาแล้วหลายครั้ง
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์แขนหักศอก (นิยม) ของนพ.มาณพ โกวิทยา(ด้านหน้า)
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์แขนหักศอก (นิยม) ของนพ.มาณพ โกวิทยา(ด้านหลัง)
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์แขนหักศอก (นิยม) ของนพ.มาณพ โกวิทยา(ด้านข้าง)
หลวงพ่อเชย ดิสฺสร เดิมชื่อ เชย เพชรประดิษฐ์ โยมบิดาชื่อ “ประดิษฐ์” โยมมารดาชื่อ “แก้ว” เกิดเมื่อ พ.ศ.2413 เกิดที่ ต.ท้องคุ้งบน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ช่วงเยาว์วัยบิดามารดาได้นำท่านไปฝากไว้กับ หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เพื่อรับการประสิทธิประสาทวิชาจากหลวงพ่อปาน จนอายุครบบวช ได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดบางกระสอบ เมื่อ พ.ศ.2435 โดยมี หลวงพ่อจันทร์ วัดท้องคุ้ง เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงพ่อเพิ่ม วัดหนามแดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ดิสฺสร”
หลวงพ่อเชย ได้รับการประสิทธิประสาทสืบทอดวิชาต่างๆ จาก หลวงพ่อปาน ทั้งพุทธาคม วิทยาคม วิปัสสนากัมมัฏฐาน อักขระและภาษาขอม จนมีความเชี่ยวชาญในด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ อีกทั้งยังแก่กล้าในด้านเวทมนต์คาถา ลงเลขยันต์
ต่อมาได้ช่วย หลวงพ่อปาน สร้างวัตถุมงคลต่างๆ จนสามารถจดจำกรรมวิธีได้อย่างละเอียดลออ เมื่อ หลวงพ่อปาน มรณภาพแล้ว ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางกระสอบแทน ท่านได้สร้างถาวรวัตถุ ปฏิสังขรณ์เสนาสนะให้เจริญรุ่งเรือง จนมีผู้เคารพนับถือศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก ท่านได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2475 สิริรวมอายุ 62 ปี พรรษา 40
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์แขนหักศอก (นิยม) ของนพ.มาณพ โกวิทยา(ด้านหน้า)
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์แขนหักศอก (นิยม) ของนพ.มาณพ โกวิทยา(ด้านหลัง)
หลวงพ่อเชย ได้สร้าง “พระปิดตาเนื้อคลุกรัก” พิมพ์ครึ่งซีก ด้านหลังโค้งมน ที่เรียกว่า “หลังประทุน” พิมพ์ทรงงดงามมาก ให้ความรู้สึกอุดมสมบูรณ์ สมดังลักษณะของ พระมหากัจจายนะกอปรด้วยพระอุทร (ท้อง) ที่อ้วนท้วน บ่งบอกความมั่งคั่ง พระกร (แขน) ที่ยกขึ้นปิดพระเนตร (นัยน์ตา) และพระกรที่โอบพระอุทร เป็นเส้นขนาดใหญ่ มั่นคง และลากขึ้นปิดพระกรรณ (หู) ทั้งสองข้าง รับกับพระเพลา (ตัก,ขา) ที่แสดงอาการประทับนั่ง แบบขัดเพชร ซึ่งกว้างเป็นพิเศษ แสดงถึงฐานที่รองรับพระวรกายอย่างมีเสถียรภาพ
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ มีศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง โดยไม่ได้รับอิทธิพลหรือแบบอย่างจากพระปิดตาของอาจารย์หรือสำนักอื่นใด มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระปิดตาของหลวงพ่อเชย ได้แก่ผงวิเศษที่ได้มาจากการเขียนและลบด้วยพระคาถา อันได้แก่ผงอิทธิเจ ซึ่งมีอานุภาพทางเสน่ห์มหานิยมอย่างประเสริฐ
นอกจากนี้ยังมีว่าน 108 อันประกอบด้วย ยอดมหาเสน่ห์ที่เรียกกันว่า ว่านดอกทอง ว่านเสน่ห์จันทน์ขาวเสน่ห์จันทน์แดง ฯลฯ และเกสรต่างๆ รวมทั้งต้นดีเหนียว ต้นระงับพิษ และต้นหงอนไก่ กับวัสดุมงคลและอาถรรพณ์ต่างๆ อีกมากมาย
หลวงพ่อเชย ดิสฺสร วัดบางกระสอบ
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ แบ่งพิมพ์ตามลักษณะของพระกร (แขน) ออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์แขนหักศอก (นิยม) กับพิมพ์แขนกลม ปัจจุบันถือเป็นพระปิดตายอดนิยมพิมพ์หนึ่งของวงการพระเครื่องเมืองไทย ที่มีผู้แสวงหาอย่างกว้างขวาง และมี “พระปลอม” ออกมาแล้ว เช่นเดียวพระปิดตาที่นิยมกันทั่วๆ ไป ผู้สนใจจึงต้องเช่าบูชาจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น
ขอขอบพระคุณ
ข้อมูลจาก เฟสบุค“พระเครื่องเมืองพระประแดง” วัยหนุ่ม บางกระสอบ / และภาพพระปิดตา ของ นพ.มาณพ โกวิทยา
สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย