===Not Click=== ===Not Click===

ตำหนิพระนาคปรกใบมะขาม หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่. ปี ๒๕๑๗

ตำหนิพระนาคปรกใบมะขาม หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่. ปี ๒๕๑๗

พระนาคปรกใบมะขาม หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ สร้างในปี ๒๕๑๗ โดย อ.ชินพร สุขสถิตย์
จำนวนการสร้าง
พระปรกองค์จ้อยเนื้อทองคำ ๙๕ องค์ (เท่ากับอายุหลวงปู่ทิม ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗)
พระปรกองค์จ้อยเนื้อเงิน ๓๗๐ องค์
พระปรกองค์จ้อยเนื้อนวะ ๑๖๐ องค์
พระปรกองค์จ้อยเนื้อทองแดง ๑๖,๐๐๐ องค์
พระปรกองค์จ้อยเนื้อตะกั่ว ประมาณ ๕๐ องค์ และเนื้อทองเหลืองเพียง ๒ องค์
พระปรกองค์จ้อยเนื้อผงดำวัดสุทัศน์ ผงพรายกุมาร ประมาณ ๔๐๐องค์
พิมพ์พระส่วนด้านหน้า
เป็นพระพุทธปางนาคปรก ศิลปลพบุรี มีพญานาคอยู่บนเศียรพระพุทธ ๗ หัว ใต้พระพุทธเป็นลำตัวพญานาคขดอยู่ ๓ ชั้น พระพุทธจะสวมสังวาลย์คอ มีกำไลแขน กำไลข้อมือ และกำไลข้อเท้าทั้งสองข้าง
พิมพ์พระส่วนด้านหลัง
มียันต์ห้า ใส่อักษรขอมในยันต์ห้าคือ นะ โม พุท ธา ยะ ด้านบนของยันต์ห้าจะมีฉายาของหลวงปู่ทิม "อิสริโก" ส่วนด้านล่างของยันต์ห้า มีคำว่า "หลวงปู่ทิม" และด้านล่างสุด มีตัวเลขไทย "๑๗" หมายถึงปี พ.ศ. ที่สร้าง
พระปรกใบมะขามองค์จ้อยนี้ มีพิมพ์ด้านหลังเพียงพิมพ์เดียว แต่มีพิมพ์ด้านหน้าสองพิมพ์ด้วยกัน
***ในที่นี่จะไม่ขอกล่าวถึง ค่าความนิยม ว่านิยมพิมพ์ไหนมากกว่ากัน ราคาพิมพ์ไหนถูกหรือแพง เพราะพระทุกองค์ล้วนแล้วเป็นพระที่หลวงปู่ทิมเมตตาปลุกเสกให้ทั้งหมด คุณค่าย่อมเท่าเทียมกัน***

พิมพ์หน้าใหญ่ โดยพิมพ์นี้จะพบในพระปรกองค์จ้อยเนื้อทองแดง
พิมพ์หูมีขีด (พิมพ์หน้าเล็ก) โดยพิมพ์นี้จะพบในพระปรกองค์จ้อย เนื้อทองคำ เนื้อนวะ เนื้อทองแดง เนื้อชินตะกั่ว

ในส่วนของพิมพ์หูขีด จะมีแยกย่อย ออกไปอีก โดยแยกจากรอยแตกของแม่พิมพ์ บริเวณจมูกปาก จะมีรอยแตกเป็นเส้นแนวตั้ง มักเรียกพิมพ์นี้ว่า พิมพ์หน้าแตกหูขีด
สรุปแล้วพระปรกองค์จ้อยเนื้อทองแดงจะมีทั้งพิมพ์หน้าใหญ่ และพิมพ์หูมีขีด (พิมพ์หน้าเล็ก)
พระปรกองค์จ้อย พิมพ์หูมีขีด (พิมพ์หน้าเล็ก) นั้น จะเริ่มปั๊มเนื้อทองแดงก่อน จึงทำให้ไม่พบรอยบล็อกแตกผ่านที่บริเวณพระพักตร์ (ที่พบก็มีแต่เพียงส่วนน้อย)
หลังจากปั๊มเนื้อทองแดงเสร็จตามจำนวนแล้ว จึงนำพิมพ์ไปปั๊มเนื้อนวะ เนื้อเงิน เนื้อทองคำ ตามลำดับ เมื่อพิมพ์เริ่มแตกตั้งแต่เนื้อทองแดงแล้ว ในเนื้อนวะก็พบรอยบล็อกแตกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
รอยบล็อกแตกนี้จะเห็นเด่นชัด และแตกมากที่สุดในเนื้อทองคำ เพราะเนื้อทองคำจะปั๊มเป็นเนื้อสุดท้าย

***จากการที่ตัวผมนั้นได้เคยพูดคุยถึงเรื่องพระพิมพ์พระปรกใบมะขามองค์จ้อยนี้ กับท่าน อ.ชินพร
ท่านเคยบอกว่า ตอนที่เริ่มปั๊มเนื้อทองแดงก่อนที่โรงงานปั๊มนั้น ได้นำแผ่นทองแดง แผ่นเงิน และแผ่นทองคำ ไปให้ที่โรงงานปั๊ม
ขณะที่ปั๊มเนื้อทองแดง แผ่นทองแดงเกิดหมดก่อนจะได้ครบตามจำนวน จึงนำแผ่นเงิน และแผ่นทองคำ ที่นำไปด้วย ไปปั๊มก่อนด้วยบางส่วน
เพราะ ต้องเดินทางไปซื้อแผ่นทองแดงเพิ่มจากในกรุงเทพฯ
ดังนั้นจากข้อมูลนี้ พระปรกองค์จ้อย เนื้อทองคำ เนื้อเงิน จะมีจำนวนหนึ่งที่เป็นพิมพ์ที่หน้าไม่แตก หรือแตกไม่มาก***







ที่มา : กร บารมีหลวงปู่ทิม