===Not Click=== ===Not Click===

วิธีดูเหรียญรุ่นแรกอาจารย์นำ วัดดอนศาลา



จัดสร้างในปีพ.ศ.2519 มีทั้งหมด 3 เนื้อ

1. เนื้อทองคำ สร้าง 44 เหรียญ
2. เนื้อเงิน สร้าง 66 เหรียญ
3. เนื้อโลหะบ้านเชียง สร้าง 20,000 เหรียญ

แยกได้ทั้งหมด 4 พิมพ์ ( แต่สันนิษฐานว่าน่าจะแยกจะแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน )

1. พิมพ์จีวรจุด หลังผด? คาดว่าจะเป็นพิมพ์ที่ปั๊มออกมาในช่วงแรก และการผสมเนื้อโลหะบ้านเชียงยังไม่ได้
สัดส่วน พอปั๊มไป ทำให้ผิวพระด้านหลังเหรียญเกิดรอยเหนอะ ทำให้มองดูคล้ายกลาก หรือผด
2. พิมพ์หลังเรียบ หลังจากที่ได้ทราบแล้วว่าการปั๊มเหรียญออกมาในช่วงแรก? ผิวพระด้านหลังเหรียญมีรอยเหนอะ
คล้ายผด หรือกลาก ก็ทำการผสมมวลสาร ที่เรียกว่าเนื้อโลหะบ้านเชียงเสียใหม่ ทำให้ลงตัว เมื่อปั๊มใหม่ไม่
ปรากฏรอยเหนอะ จึงเป็นที่มาของ พิมพ์หลังเรียบ
3. พิมพ์ลาแตก (ติดไม่ชัด) เหรียญมีจำนวนการปั็มถึง 20,000 เหรียญ สำหรับเนื้อโลหะบ้านเชียงทำให้บล็อคเริ่ม
ชำรุด เกิดรอยแตกตรงคำว่า ศาลา - พัทลุง แต่ติดไม่ชัดขาดเป็นช่วง
4. พิมพ์ลาแตก (ติดชัด) เมื่อปั๊มไปมากพอสมควรแล้ว บล็อคเกิดการชำรุดเสียหายมากขึ้นทำให้รอยแตกตรงคำว่า ศาลา - พัทลุง

ติดชัดและมีรอยแตกเพิ่มจากตัว ล. ไปที่ใตัตัว พ. ในแนวเฉียง

เหรียญอาจารย์นำ วัดดอนศาลา บล็อคจีวรจุด หลังผด


 ตำหนิด้านหน้า

1. มีเนื้อเกิดที่ขอบเหรียญเหนือตัว " ศ "
2. มีตุ่มเม็ดอยู่เหนือใบหูข้างขวา ของอาจารย์นำ อยู่ 1 เม็ด
3. ใต้ตัว " น " มีติ่งเนื้ออยู่ 1 ก้อน
4. ตรง พ.ศ. ๒๕๑๙ ตัวเลข ๕ มีเส้นซ้อน? และเลข ๑ มีเส้นแตก
5. ตรงจีวร มีเม็ดจุดอยู่หนึ่งเม็ด เป็นที่มาของคำว่า จีวรจุด
6. ตุ่มตรงกลางดอกจันทร์ จะบุ๋มลงไป
7. เนื่องจากเป็นเหรียญปั๊มยุคหลัง 2500 ผิวเหรียญต้องตึง และปรากฏเส้นเสี้ยนสาดกระจายให้เห็น


ตำหนิด้านหลัง

1. เนื่องจากเป็นเหรียญปั๊มยุคหลัง 2500 หูเหรียญต้องมีรอยปลิ้นเล็กน้อย
2. อักขระตัวนี้มีเส้นแตกยาว และแหลมคม
3. อักขระตัวนี้มีติ่งแหลม
4. มีติ่งเนื้อเกินอยู่ในยันต์ตัวนี้
5. ปรากฏตุ่มเม็ด คล้ายกลุ่มเม็ดผด หรือกลุ่มกลาก เป็นที่มาของพิมพ์หลังผด
6. ปรากฏตุ่มเม็ด คล้ายกลุ่มเม็ดผด หรือกลุ่มกลาก เป็นที่มาของพิมพ์หลังผด
7. ปรากฏรอยเส้นเสี้ยน คล้ายรอยแต่งตะไบตามขอบเหรียญ


เหรียญอาจารย์นำ วัดดอนศาลา บล็อคลาแตก (นิยม)



ตำหนิด้านหน้า

1. มีเนื้อเกิดที่ขอบเหรียญเหนือตัว " ศ "
2. มีตุ่มเม็ดอยู่เหนือใบหูข้างขวา ของอาจารย์นำ อยู่ 1 เม็ด
3. ใต้ตัว " น " มีติ่งเนื้ออยู่ 1 ก้อน
4. ตรง พ.ศ. ๒๕๑๙ ตัวเลข ๕ มีเส้นซ้อน? และเลข ๑ มีเส้นแตก
5. ตรงจีวร มีเม็ดจุดอยู่หนึ่งเม็ด เป็นที่มาของคำว่า จีวรจุด
6. ตุ่มตรงกลางดอกจันทร์ จะบุ๋มลงไป
7. เนื่องจากเป็นเหรียญปั๊มยุคหลัง 2500 ผิวเหรียญต้องตึง และปรากฏเส้นเสี้ยนสาดกระจายให้เห็น
8. บล็อคเกิดการชำรุดเสียหายมากทำให้รอยแตกตรงคำว่า ศาลา - พัทลุงติดชัด? และมีรอยแตกเพิ่มจากตัว ล. ไปที่ใตัตัว พ. ในแนวเฉียง




ตำหนิด้านหลัง

1. เนื่องจากเป็นเหรียญปั๊มยุคหลัง 2500 หูเหรียญต้องมีรอยปลิ้นเล็กน้อย
2. อักขระตัวนี้มีเส้นแตกยาว และแหลมคม
3. อักขระตัวนี้มีติ่งแหลม
4. มีติ่งเนื้อเกินอยู่ในยันต์ตัวนี้
5. อักขระตัวนี้มีติ่งแหลม เกิดจากการแกะบล็อคพลาด
6. อักขระตัวนี้มีติ่งแหลม เกิดจากการแกะบล็อคพลาด
7. ข้างยันต์พระจันทร์เสี้ยว ทั้งสองด้านมีกลุ่มก้อนเนื้อจุดเล็กๆ รวมตัวกันหลายจุดทั้งสองด้าน