===Not Click=== ===Not Click===

วิธีดูพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง

พระนางพญาเป็นพระยอดนิยม จัดเป็น 1 ใน 5 ของพระชุดเบญจภาคี พระนางพญา เป็นพระเครื่องดินเผา ใช้เส้นตอก ตัดกรอบ และมีคำวลีที่โบราณกล่าวว่า
  • หูยานถึงบ่า
  • หนาเท่าเส้นตอก
  • หักศอกเป็นเบ็ดกุ้ง
การพิจารณาผู้รู้กล่าวไว้ว่า หนาเท่าเส้นตอกไม่ใช่กฏเกณฑ์ตายตัว ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอน ขึ้นกับผู้กดพิมพ์

การตัดด้วยเส้นตอกมักปรากฏทั้งสามด้าน ชัดเจนบ้างน้อยบ้าง หรือบางองค์อาจไม่มีเลยก้อเป็นได้ โดยลักษณะรอยเส้นตอกเป้นเส้นทิวนูนเป้นร่องรางวิ่งจากด้านองค์พระไปด้านหลัง อีกอย่างพระนางพญา จ.พิษณุโลกจะแตกต่างกับ จ.กำแพงเพชรเพราะมีเม็ดแร่ทุกองค์ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการดูรอยตัดตอกซึ่งเกิดจากเม็ดแร่ครูดกับผิวพระ จึงทำให้มีรอยที่ไม่เหมือนกันในแต่ละด้าน

รอยตัดตอกมีกี่แบบ
  • แนวดิ่ง
  • ทะแยงลง
  • ทะแยงขึ้น
  • ฟันเลื่อย
  • ตอกระดับ
ของปลอมพยายามทำเลียนแบบแต่จะสึกและเป็นทิวนูนมามากและคมจนน่าเกลียดหรือขาดธรรมชาติ





ลักษณะผิวนางพญา

เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียด ผิวจะปรากฏเป้นสีเหลืองนวล ๆหรือสีที่อ่อนกว่าสีที่แท้ขององค์พระ จับอยู่ตามผิวของเนื้อทราย และมีอยู่มากตามซอกต่าง ๆ คล้ายคราบ ลักษณะผิวปลอมไม่สามารถทำลักษณะที่กล่าวมานี้ขึ้นมาได้

ขนาด
ฐานกว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร สูงประมาณ ๓ เซนติเมตร
พื้นผิวต้องไม่มีรูพรุนปลายเข็ม


ตำหนิเอกลักษณ์

1. ไรพระศกวาดโค้งและอยู่สูง ทำให้แลดูคล้ายศรีษะเถิก
2. พระพักตร์เป็นรูปผลมะตูม มีความโค้งคล้ายหลังเต่า
3. ปลายพระกรรณขวา จรดบ่า
4. ปลายจีวรบนเลยล้ำเข้าซอกคอ
5. โคนแขนใหญ่และค่อยๆเรียวเล็กที่ต้นแขน ส่วนพระหัตถ์เล็กพาดสุดเข่า
6. พระพาหาซ้ายองค์พระแอ่นโค้งแผ่วมาก ตรงข้อศอกเป็นจะงอยยื่นออกมา
7. ปลายแขนซ้ายองค์พระโค้งเป็นขอเบ็ด ปลายพระหัตถ์ทู่
8. ปลายสังฆาฏิส่วนล่างบานผายออกเล็กน้อย
9. พระอุทรเป็นลำกระบอก โย้มาทางขวามือเราเล็กน้อย
10. กลางเข่าเป็นแอ่งโค้ง อันเป็นเอกลักษณ์ชื่อเรียกพิมพ์


ตัวอย่างพระปลอม

ตัวอย่างพระที่ไม่เข้าลักษณะผิวออกวรรณะที่อ่อนกว่าสีผิวองค์พระที่มีในพระแท้


เนื้อผิวมีลักษณะตรงข้ามกับนางพญาแท้ทุกประการ คือ เป็นผลึกเหลี่ยม เช่นเดียวกับเม็ดทรายธรรมดา มีโผล่มาจากผิวมากไป ลูบแล้วสากมือ

ขอขอบคุณ bandidsqn401แห่ง palungjit.org