พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่มีกนก) จ.กำแพงเพชร
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก จ.กำแพงเพชร เป็นพระเครื่องที่มีศิลปะที่งดงามมาก โดยฝีมือของสกุลช่างกำแพงเพชร ที่รวมเอาศิลปะจากยุคของเชียงแสน มารวมกันกับศิลปของสุโขทัย โดยเพิ่มซุ้มครอบแก้วที่มีลวดลายเป็นเส้นกนกเถาวัลย์ ส่วนลักษณะของตำหนิพิมพ์ทรงนั้น ในที่นี้จะขอกล่าวเป็นข้อสังเขปดังนี้
1. พระเกตุมีปลายแหลมชนในเส้นประภามลฑลรัศมี
2. พระกรรณทั้งสองข้างคล้ายบายศรี ทางตอนบนชนขอบของเส้นประภามลฑลรัศมี ส่วนทางด้านล่างข้างซ้ายทิ้งลงมาจรดบนผ้าสังฆาฏิ ที่เป็นเส้นแหลมวิ่งเลยบ่าไป
3. ลายกนกข้างซ้ายคล้ายหัวพญานาค ที่มีขนด(หงอน) ทางส่วนหัวจะเป็นมุมแหลมอยู่ห่างจากบ่า ซึ่งจะมีเพียงเส้นที่เป็นทิวจางๆวิ่งเลยไปชน
4. ลายกนกข้างขวาคล้ายกับเลขเก้าไทย (๙) หรือมองคล้ายเส้นอุณาโลมในแนวเฉียง คือมีเส้นเป็นวงโค้งเชื่อมต่อกัน และมีปลายเป็นเส้นแหลมแยกออกไป 2-3 เส้น วิ่งพริ้วสะบัดเข้าหาซุ้มที่งุ้มลึกเข้าตรงรูปหัวก.ไก่
5. ซอกแขนข้างขวาจะดูกว้างกว่าข้างซ้าย แต่มองดูลึกเหมือนกัน จนแทบจะมองเห็นสีข้างพระ และซอกแขนข้างขวานี้ จะแลเห็นเส้นชายอังสะเป็นรูปตกท้องช้าง มีปลายแหลมวิ่งเข้าไปชนในซอกพระกัจจะ (รักแร้)
6.มีกำไลที่ข้อพระบาท โดยข้อตรงกลางจะเห็นเด่นชัด และข้างๆอีกพอให้เห็น นับเป็นสองปล้องบ้างสามปล้องบ้าง โดยมีร่องเน้นให้แยกกัน
7. พระบาททั้งสองข้างเป็นเส้นเรียวตรง มองดูสมส่วนกันกับพระเพลาที่ค่อนข้างเล็ก โดยมีส่วนปลายของพระเพลาดูยื่นออกไปนอกซุ้ม และปลายพระบาททางด้านล่างนั้น จะมีเส้นปลายแหลมงอเข้าหาพระเพลาด้านบน ส่วนพระบาททางด้านบนก็จะดูสั่นกว่าพระเพลา
ที่มา
https://7prasoomkor.blogspot.com/2018/08/blog-post_27.html