พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน พิมพ์ใหญ่A หัวขีด (เนื้อว่านสบู่เลือด)
หลวงปู่ทวดปี 2497 วัดช้างให้หากแยกหลักๆ ก็จะมีหลวงปู่ทวดพิมพ์กรรมการ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์พระรอด พิมพ์กลาง พิมพ์ต้อ พิมพ์ชะลูด หลวงปู่ทวดพิมพ์ไหนที่นิยมมากสุด ปัจจุบันจะเป็นหลวงปู่ทวดพิมพ์กรรมการและพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่ทวดเนื้อว่านสบู่เลือดองค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่ A ไหล่จุดหัวขีด เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด นักสะสมเรียกกันสั้นๆว่า พิมพ์หัวมีขีด
การศึกษาก่อนอื่นเราต้องรู้ที่มาของพระ รู้ประวัติความเป็นมาเป็นไปของพระที่เราจะศึกษา อย่างพวกวิธีการสร้างว่าสร้างแบบไหน แกะพิมพ์แบบไหน เนื้อมวลสารทำแบบไหน มีอะไรเป็นส่วนผสมบ้าง พอเรารู้เราจะมองภาพออก และเวลากดพิมพ์กดยังไง เอาพระออกจากพิมพ์มีวิธีการเอาออกยังไง อันนี้ก็สำคัญ พอเรารู้สิ่งเหล่านี้แล้วเราจะเข้าใจง่าย
หลักการพิจารณาเบื้องต้นมีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน คือ
1.ต้องศึกษาพิมพ์พระมีพิมพ์อะไรบ้าง จำพิมพ์ทรงให้แม่น
2.ดูมวลสารส่วนผสมเนื้อหาว่ามีอะไรบ้างถูกต้องหรือไม่
3.ต้องเป็นพระที่ไม่ได้ถูกถอดพิมพ์
พระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน สร้างในปีพ.ศ. 2497 สร้างมาจาก ว่าน 108 อย่างรวมกับดินกากยายักษ์ มวลสารของพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ไม่ว่าจะแก่ดิน หรือแก่ว่าน มีมวลสารประกอบที่เห็นได้ชัดเจนทุกองค์ ว่าจะต้องประกอบไปด้วย เม็ดดำ เม็ดแดง(สีอิฐเผา) และเม็ดขาว เม็ดแร่ที่มีมากๆ อยู่ด้านหลังพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปี2497? หรือที่มีประปรายอยู่ด้านหน้าพระนั้น เป็นแร่ที่ท่านคหบดี อนันต์ คณานุรักษ์ นำมาจากเหมืองของท่าน เนื่องจากในขณะนั้นท่านประกอบธุรกิจด้านเหมืองแร่ด้วย ท่านเรียกแร่นี้ว่า กิมเซียว ? หากพิจารณาคำว่า กิมเซียว เป็นคำภาษาจีน แปลว่า ทองน้อย หรือทองอ่อน? เมื่อมาพิจารณาสีของเม็ดแร่ ก็ปรากฏว่ามีสีทองอ่อนๆ ดังนั้นน่าจะสันนิษฐานว่า ท่านคหบดี อนันต์ คณานุรักษ์ คงจะตั้งชื่อแร่นี้เป็นภาษาจีนตามสีสันของแร่ที่ท่านเห็น
ข้อพิจารณาลักษณะโดยทั่วไปของพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497 คือ
1) จะมีทั้งหมด 16 พิมพ์ ซึ่งในแต่ละพิมพ์จะมีพุทธลักษณะองค์พระเหมือนๆ กัน คือ หลวงปู่ทวดนั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ต่างกันแต่เพียงขนาดใหญ่ กลาง เล็ก เท่านั้น และแต่ละพิมพ์จะมีความชัดเจน
2) ลักษณะผิวขององค์พระ ถ้าไม่ผ่านการใช้หรือสัมผัสมาเลย หรือที่เรียกว่า "ผิวเดิม" จะออกสีดำหรืออมน้ำตาล บางองค์จะปรากฏยางว่านของมวลสารลักษณะเป็นไขขาวปูดขึ้นมาจากเนื้อในคล้ายๆ ยางมังคุด และมีฝ้าขาวเหมือนแป้งบางๆ ปกคลุมอยู่โดยทั่ว
3) เนื้อมวลสาร ประกอบด้วย พระธาตุ ว่าน 108 และผงสีขาวใส บางองค์จะมีความละเอียดจับตัวแน่น บางองค์ก็หยาบฟู เนื้อในจะมีสีดำหม่นแกมเทาแก่ พื้นผิวปรากฏแร่ดินดำหรือที่เรียกว่า "ว่านกากยายักษ์" อยู่ทั่วองค์พระ และมีผงขาวใสเป็นจุดอยู่ประปรายสัณฐานไม่แน่นอนสังเกตเห็นโดยง่าย ถ้ามองให้ดีๆ จะพบสีแดงคล้ายดอกพิกุลซอกซอนอยู่ตามเนื้อขององค์พระ ลักษณะเนื้อจะต้องแห้งตามกาลเวลา ไม่ใหม่สดใสเหมือนของที่สร้างใหม่ๆ
4) ด้านหลังเป็นหลังอูมนูนเล็กน้อย และหลังเรียบ บางส่วนจะปรากฏประกายดำวาวอย่างกากเพชร แต่ไม่ปรากฏทุกองค์ สันนิษฐานว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งที่นำมาแตะไว้
5) พระบางองค์มีรูเสียบไม้ส่วนล่างใต้ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
6) ขอบด้านข้างจะห่อเข้าหากันเล็กน้อยพอสังเกตได้ บางองค์บิดงออย่างเป็นธรรมชาติ
7) ปรากฏรอยนิ้วมือคีบจับขึ้นจากเบ้าพิมพ์บริเวณขอบข้างด้านล่างขององค์พระ
สำหรับองค์พระที่มีความสมบูรณ์มากๆ ไม่ได้ผ่านการใช้มาก่อน ผู้ที่ไม่สันทัดจะไม่ค่อยสามารถสังเกตเห็นมวลสารดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ อย่างเด่นชัด? เพราะฉะนั้น การพิจารณา "พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497" จึงต้องทำความเข้าใจกับผิวขององค์พระให้ละเอียดลึกซึ้ง และที่สำคัญคือ ต้องศึกษาและจดจำพิมพ์ทรงได้อย่างถี่ถ้วนและแม่นยำ
จุดสังเกต หรือเอกลักษณ์ คือ
1. มีขีดเส้นแตกที่ข้างศีรษะเหนือหูด้านซ้ายและด้านขวา
2. ไหล่ซ้ายขององค์พระมีจุด
3. หัวไหล่ขวาสูงกว่าหัวไหล่ซ้าย
4. มีเส้นพาดเฉียงในซอกแขนขวา
5. มีเส้นทั้งแนวตั้ง? และแนวนอนหลายเส้นที่ลำองค์ด้านซ้าย
6. ผ้าสังฆาฏิคล้ายกับรากไม้ ฐานบัวลึกชัดเจน
7. ด้านหลังขององค์พระปรากฏเห็นเม็ดแร่สีดำ ซึ่งเป็นตำหนิในการพิจารณาที่ให้ความสำคัญมากกับ?พิมพ์หัวมีขีด
องค์ในภาพที่นำเสนอเป็นเนื้อว่านที่มีว่านสบู่เลือดผสมในองค์พระอยู่ค่อนข้างมากจึงมีสีออกแดง สภาพองค์พระสมบูรณ์ มีหน้ามีตาติดชัดเจน เบ้าตาลึก นับได้ว่าสวยมากๆ และหายากที่สุด
Cr. pharaohamulet.com
หลวงปู่ทวดปี 2497 วัดช้างให้หากแยกหลักๆ ก็จะมีหลวงปู่ทวดพิมพ์กรรมการ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์พระรอด พิมพ์กลาง พิมพ์ต้อ พิมพ์ชะลูด หลวงปู่ทวดพิมพ์ไหนที่นิยมมากสุด ปัจจุบันจะเป็นหลวงปู่ทวดพิมพ์กรรมการและพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่ทวดเนื้อว่านสบู่เลือดองค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่ A ไหล่จุดหัวขีด เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด นักสะสมเรียกกันสั้นๆว่า พิมพ์หัวมีขีด
การศึกษาก่อนอื่นเราต้องรู้ที่มาของพระ รู้ประวัติความเป็นมาเป็นไปของพระที่เราจะศึกษา อย่างพวกวิธีการสร้างว่าสร้างแบบไหน แกะพิมพ์แบบไหน เนื้อมวลสารทำแบบไหน มีอะไรเป็นส่วนผสมบ้าง พอเรารู้เราจะมองภาพออก และเวลากดพิมพ์กดยังไง เอาพระออกจากพิมพ์มีวิธีการเอาออกยังไง อันนี้ก็สำคัญ พอเรารู้สิ่งเหล่านี้แล้วเราจะเข้าใจง่าย
หลักการพิจารณาเบื้องต้นมีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน คือ
1.ต้องศึกษาพิมพ์พระมีพิมพ์อะไรบ้าง จำพิมพ์ทรงให้แม่น
2.ดูมวลสารส่วนผสมเนื้อหาว่ามีอะไรบ้างถูกต้องหรือไม่
3.ต้องเป็นพระที่ไม่ได้ถูกถอดพิมพ์
พระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน สร้างในปีพ.ศ. 2497 สร้างมาจาก ว่าน 108 อย่างรวมกับดินกากยายักษ์ มวลสารของพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ไม่ว่าจะแก่ดิน หรือแก่ว่าน มีมวลสารประกอบที่เห็นได้ชัดเจนทุกองค์ ว่าจะต้องประกอบไปด้วย เม็ดดำ เม็ดแดง(สีอิฐเผา) และเม็ดขาว เม็ดแร่ที่มีมากๆ อยู่ด้านหลังพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปี2497? หรือที่มีประปรายอยู่ด้านหน้าพระนั้น เป็นแร่ที่ท่านคหบดี อนันต์ คณานุรักษ์ นำมาจากเหมืองของท่าน เนื่องจากในขณะนั้นท่านประกอบธุรกิจด้านเหมืองแร่ด้วย ท่านเรียกแร่นี้ว่า กิมเซียว ? หากพิจารณาคำว่า กิมเซียว เป็นคำภาษาจีน แปลว่า ทองน้อย หรือทองอ่อน? เมื่อมาพิจารณาสีของเม็ดแร่ ก็ปรากฏว่ามีสีทองอ่อนๆ ดังนั้นน่าจะสันนิษฐานว่า ท่านคหบดี อนันต์ คณานุรักษ์ คงจะตั้งชื่อแร่นี้เป็นภาษาจีนตามสีสันของแร่ที่ท่านเห็น
ข้อพิจารณาลักษณะโดยทั่วไปของพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497 คือ
1) จะมีทั้งหมด 16 พิมพ์ ซึ่งในแต่ละพิมพ์จะมีพุทธลักษณะองค์พระเหมือนๆ กัน คือ หลวงปู่ทวดนั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ต่างกันแต่เพียงขนาดใหญ่ กลาง เล็ก เท่านั้น และแต่ละพิมพ์จะมีความชัดเจน
2) ลักษณะผิวขององค์พระ ถ้าไม่ผ่านการใช้หรือสัมผัสมาเลย หรือที่เรียกว่า "ผิวเดิม" จะออกสีดำหรืออมน้ำตาล บางองค์จะปรากฏยางว่านของมวลสารลักษณะเป็นไขขาวปูดขึ้นมาจากเนื้อในคล้ายๆ ยางมังคุด และมีฝ้าขาวเหมือนแป้งบางๆ ปกคลุมอยู่โดยทั่ว
3) เนื้อมวลสาร ประกอบด้วย พระธาตุ ว่าน 108 และผงสีขาวใส บางองค์จะมีความละเอียดจับตัวแน่น บางองค์ก็หยาบฟู เนื้อในจะมีสีดำหม่นแกมเทาแก่ พื้นผิวปรากฏแร่ดินดำหรือที่เรียกว่า "ว่านกากยายักษ์" อยู่ทั่วองค์พระ และมีผงขาวใสเป็นจุดอยู่ประปรายสัณฐานไม่แน่นอนสังเกตเห็นโดยง่าย ถ้ามองให้ดีๆ จะพบสีแดงคล้ายดอกพิกุลซอกซอนอยู่ตามเนื้อขององค์พระ ลักษณะเนื้อจะต้องแห้งตามกาลเวลา ไม่ใหม่สดใสเหมือนของที่สร้างใหม่ๆ
4) ด้านหลังเป็นหลังอูมนูนเล็กน้อย และหลังเรียบ บางส่วนจะปรากฏประกายดำวาวอย่างกากเพชร แต่ไม่ปรากฏทุกองค์ สันนิษฐานว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งที่นำมาแตะไว้
5) พระบางองค์มีรูเสียบไม้ส่วนล่างใต้ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
6) ขอบด้านข้างจะห่อเข้าหากันเล็กน้อยพอสังเกตได้ บางองค์บิดงออย่างเป็นธรรมชาติ
7) ปรากฏรอยนิ้วมือคีบจับขึ้นจากเบ้าพิมพ์บริเวณขอบข้างด้านล่างขององค์พระ
สำหรับองค์พระที่มีความสมบูรณ์มากๆ ไม่ได้ผ่านการใช้มาก่อน ผู้ที่ไม่สันทัดจะไม่ค่อยสามารถสังเกตเห็นมวลสารดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ อย่างเด่นชัด? เพราะฉะนั้น การพิจารณา "พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497" จึงต้องทำความเข้าใจกับผิวขององค์พระให้ละเอียดลึกซึ้ง และที่สำคัญคือ ต้องศึกษาและจดจำพิมพ์ทรงได้อย่างถี่ถ้วนและแม่นยำ
จุดสังเกต หรือเอกลักษณ์ คือ
1. มีขีดเส้นแตกที่ข้างศีรษะเหนือหูด้านซ้ายและด้านขวา
2. ไหล่ซ้ายขององค์พระมีจุด
3. หัวไหล่ขวาสูงกว่าหัวไหล่ซ้าย
4. มีเส้นพาดเฉียงในซอกแขนขวา
5. มีเส้นทั้งแนวตั้ง? และแนวนอนหลายเส้นที่ลำองค์ด้านซ้าย
6. ผ้าสังฆาฏิคล้ายกับรากไม้ ฐานบัวลึกชัดเจน
7. ด้านหลังขององค์พระปรากฏเห็นเม็ดแร่สีดำ ซึ่งเป็นตำหนิในการพิจารณาที่ให้ความสำคัญมากกับ?พิมพ์หัวมีขีด
องค์ในภาพที่นำเสนอเป็นเนื้อว่านที่มีว่านสบู่เลือดผสมในองค์พระอยู่ค่อนข้างมากจึงมีสีออกแดง สภาพองค์พระสมบูรณ์ มีหน้ามีตาติดชัดเจน เบ้าตาลึก นับได้ว่าสวยมากๆ และหายากที่สุด
Cr. pharaohamulet.com