===Not Click=== ===Not Click===

วิธีดูพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน พิมพ์กรรมการ วัดช้างไห้ 2497


จุดสังเกตุพิมพ์ทรง และตำหนิในหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ พิมพ์กรรมการ ปี 2497

1. เป็นพระเครื่องสร้างปี 2497 พร้อมกับพิมพ์อื่นๆ

2. ปัจจุบันวงการจัดพิมพ์กรรมการเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 พิมพ์กรรมการใหญ่แบ่งเป็นพิมพ์ A และ พิมพ์ B
2.2 พิพม์กรรมการเล็ก - พิมพ์พระรอด

3. พิมพ์กรรมการจะมีน้ำหนักตึงมือกว่าพิมพ์ใหญ่ เพราะมีดินกากยายักษ์มากกว่าพิมพ์ใหญ่ทั่วไปที่หนักไปทางว่านมากกว่า ทำให้พิมพ์กรรมการมีสีออกโทนดำเข้ม ขณะที่พิมพ์ใหญ่ออกสีออกโทนเท่าว่าน

4. มีผู้สังเกตว่าในพิมพ์ใหญ่ทั่วไปมีการนำเนื้อมวลสารแบบพิมพ์กรรมการไปกดพิมพ์จำนวนหนึ่ง แต่พบน้อยในทางกลับกัน ในพระพิมพ์กรรมการ ยังไม่พบ เนื้อหาแบบพิมพ์ใหญ่

5. รูใต้ฐานที่เกิดจากการงัดพระออกจากพิมพ์ปกติจะมี แต่องค์ที่ไม่มีเพราะมีการอุดภายหลังเพื่อความเรียบร้อย

6. พระพิมพ์กรรมการก็เหมือนพิมพ์ใหญ่? และพิมพ์อื่นๆที่แกะแม่พิมพ์ด้านหน้าเพียงด้านเดียว? ด้านหลังเหมือนกันหมด

7. แร่ที่โรยลงไปมักปรากฏที่ด้านหลังขณะกดพิมพ์? จะมีแร่หรืออาจจะไม่มีก็ได้

8. แร่ดังกล่าวเข้าใจว่ามาจากเทือกเขาบูโด มีสัณฐานหลายเหลี่ยมค่อนข้างทึบแสงไม่วาว ส่วนใหญ่มีสีขาวอมเหลืองนิดๆ (ผู้สันทัดกรณีบอกว่าชื่อแร่ คารีนา ภาษามาลายู)

9. สังเกตมวลสารหลักในพระหลวงพ่อทวดรุ่นแรกปรากฏมวลสารสีขาว ดำ แดง แต่เฉพาะพิมพ์กรรมการมวลสารสีขาว ปรากฏน้อยมากหรืออาจไม่มีเลย แต่สีดำ และแดง จะชัดเจนกว่าในพิมพ์อื่นๆ

10. นอกจากมวลสารสีดำตามข้อ 9 แล้ว เนื่องจากพิมพ์กรรมการมีดินกากยายักษ์เป็นจำนวนมากจึงปรากฏเม็ดแร่สีดำเล็กๆ ละเอียดกระจายตัวไปเพราะแร่ชนิดนี้ปนอยู่ในธรรมชาติของดินกากยายักษ์

11. ข้อสังเกตสุดท้าย ความชัดเจนประการหนึ่งคือมองด้วยตา พระพิมพ์กรรมการมีลักษณะแน่นตัว และมักจะไม่มีคราบน้ำว่านหรือขึ้นไข เท่าพิพม์ใหญ่เนื่องจากพิมพ์กรรมการมีว่านผสมน้อยกว่า

เอกลักษณ์พิมพ์กรรมการมีดังนี้

1. ปรากฏเส้นหน้าผากลึกชัดเจน
2. มีเส้นร่องแก้มชัดเจนแบบอาปาเช่
3. ริมฝึปากเด่นนูน
4. มีเส้นกระดูกไหปลาร้าชัดเจน
5. มีเม็ดตาสวยงาม
6. มีริ้วจีวรชัดเจนเป็นธรรมชาติ
7. ฐานบัวทั้ง 2 ชั้นควรติดเต็ม ถ้าติดไม่เต็ม และรายละเอียดอื่นๆ ไม่ชัดจะตีเป็นพิมพ์ใหญ่ทั่วไปทันที
8. ในพิมพ์สมบูรณ์ปรากฏเส้นบังคับพิมพ์โดยรอบ
9. ด้านหลังมักปรากฏหลายนิ้วมือ

Cr.pharaohamulet.com