วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นต้นกำเนิดของพระผงสุพรรณ ซึ่งเป็นพระยอดนิยมอันดับ 1 ของจังหวัดสุพรรณบุรี และเป็นพระเครื่องหนึ่งในเบญจภาคีที่ทรงคุณค่ายิ่ง
ประวัติการแตกกรุช่วงแรก ๆ มีชาวจีนอาชีพปลูกผักอยู่ในเขตวัดพระศรีรัตนมหาธาตุได้ปีนขึ้นไปบนองค์พระปรางค์ จากนั้นก็ได้ไต่ลงไปในองค์พระปรางค์ พบสมบัติต่าง ๆ มากมาย โดยได้เลือกเฉพาะทองคำและอัญมณีที่มีค่าเท่านั้น ส่วนพระเครื่องพระบูชาไม่ได้แตะต้อง จากนั้นก็ขนสมบัติกลับเมืองจีน หลังจากนั้นชาวบ้านรู้ข่าวก็ปีนขึ้นไปองค์พระปรางค์ และขนพระบางส่วนออกมาขาย ที่น่าเสียดายก็คือ ลานทองที่ถูกเผาหลอมละลายไปหลายสิบแผ่น
หลังจากนั้นไม่นาน เจ้าเมืองได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการไปเปิดกรุที่วัดพระศรีรัตน-มหาธาตุอย่างเป็นทางการ เนื่องจากปรากฏว่ามีคนร้ายลักลอบขุดกรุอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในการเปิดกรุครั้งนั้นได้พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายและหนึ่งในนั้นก็คือ "พระผงสุพรรณ" และยังพบแผ่นลานเงินและลานทองบางส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่
จากหลักฐานแผ่นลานทองซึ่งแปลออกมาแล้ว กล่าวว่า มีฤๅษี 11 ตน มีพระฤๅษีพิมพิลา-ไลย พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษีตาวัว เป็นประธานได้สร้างพระพิมพ์โดยนำเอาว่านยาที่มีฤทธิ์กับเกสรดอกไม้และแร่ต่าง ๆ แล้วทำเป็นพระพิมพ์ สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ และพิมพ์ลายมือของท่าน มหาเถระปิยะทัสสี ศรีสารีบุตร ผู้เป็นประธาน และยังได้นำแร่ธาตุต่าง ๆ หล่อเป็นพระพิมพ์ ท่านได้กล่าวว่า มีอนุภาพป้องกันอันตรายได้ ดุจดังกำแพงแก้ว ป้องกันให้ปลอดภัย จากนั้นในลานทองยังกล่าวถึงคุณวิเศษของพระผงสุพรรณว่า "ถ้าผู้ใดได้พบเห็นให้เอาไปไว้สักการะบูชาเป็นของวิเศษ แม้จะมีอันตรายประการใดก็ดี ให้อาราธนาผูกไว้ที่คอ จะคุ้มครองอันตรายได้ทั้งปวง"
พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องศิลปอู่ทอง แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์
- พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
- พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง
- พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม
1. คิ้วพระด้านขวามือพระจะโค้งตามแนวลูกตาพระ ส่วนคิ้วด้านซ้ายมือพระจะพุ่งเฉียงขึ้น ปลายแยกออกเป็น 2 ง่าม ชนกระจังพระ
2. ให้ดูตาขวาพระจะติดตื้น ส่วนตาซ้ายพระจะติดนูนสูงกว่า ส่วนเบ้าตาข้างขวามือพระจะกว้าง ส่วนด้านซ้ายมือพระจะแคบ
3. โหนกแก้มข้างขวามือพระจะติดนูนสูง ส่วนด้านซ้ายมือพระจะติดตื้นต่ำกว่า เห็นได้ชัด
4. ช่องว่างข้างโหนกแก้มกับใบหูขวาพระจะมีตำหนิพิมพ์เป็นเส้นเล็ก ๆ 2 เส้น ปลายด้านในจะบรรจบชิดกัน เหมือนเครื่องหมายมากกว่า (>)
5. ร่องแก้มข้างจมูกตามลูกศรชี้ข้างขวาพระจะแคบและลึก ส่วนข้างซ้ายพระจะกว้างและตื้นกว่า
6. ใบหูข้างขวาพระจะติดชัดเจน โดยช่วงบนจะโค้งนูนสูง ส่วนด้านล่างช่วงปลายจะตวัดขึ้นเป็นตะขอ ส่วนหูซ้ายพระจะติดไม่ชัดเจนเท่าไหร่ แค่เป็นเส้นตรงเฉียง ๆ เท่านั้น
7. ที่รักแร้ซ้ายพระมีเนื้อเกินเป็นเส้นผ่ากลางระหว่างแขนซ้ายพระกับข้างราวนม ทำให้เกิดหลุมสามเหลี่ยม 2 หลุม หลุมบนใหญ่ หลุมล่างเล็ก
8. ที่ข้างราวนมซ้ายด้านล่าง ตามลูกศรชี้จะมีเม็ดกลมเรียงติดกัน 3-4 เม็ด
9. ที่ข้อมือซ้ายพระตามลูกศรชี้ ถ้าพิมพ์ติดลึก ๆ จะมีเนื้อเกินเป็นเงี่ยง พุ่งเฉียงขึ้น
10. ปลายนิ้วชี้ซ้ายพระตามลูกศรชี้ ถ้าพิมพ์ติดลึก ๆ จะเห็นเนื้อเกินที่ปลายนิ้วโค้งลงมา
11. ที่ข้อมือขวา ตามลูกศรชี้จะเป็นแอ่งเว้าเข้าไป
12. ใต้ขาขวาพระตามลูกศรชี้ จะมีเนื้อเกินเป็นเนินนูนขึ้นมา
13. ใต้ขาซ้ายพระตามลูกศรชี้ จะมีตุ่มเล็ก ๆ 1 ตุ่ม
14. ปลายขาซ้ายพระตามลูกศรชี้ ช่างจะแกะแม่พิมพ์ให้ขาโก่งขึ้นเล็กน้อย
15. ฐานด้านล่างซีกซ้ายมือพระ ตามลูกศรชี้จะเป็นเงี่ยง 2 เงี่ยง เป็นคลื่นไม่เรียบ
16. พื้นผิวในซอกแขนพระทั้งซ้ายและขวามือพระ ถ้ากดพิมพ์ได้ลึกจะเห็นลายเสี้ยนไม้ขึ้นเป็นเส้นตรงเฉียง ๆ พุ่งขึ้นหารักแร้พระ
17. ส่วนด้านหลังพระจะเป็นรอยนิ้วมือกดหลังพระ และส่วนใหญ่ลายนิ้วมือจะเป็นลาย ก้นหอย และถ้าสังเกตให้ลึกเข้าไปอีก ตรงจุดศูนย์กลางของลายก้นหอยจะสึกเลือน ๆ เกือบทุกองค์
- เนื้อดิน/มีสีแดง ดำ เหลือง เขียว ด้านหลังมีรอยนิ้วมือกดพิมพ์
- เนื้อชินเงิน จะเรียกว่า พระสุพรรณยอดโถ มีทั้งแม่พิมพ์ตัวเดียวกับเนื้อดิน และแม่พิมพ์คนละตัวกับเนื้อดินก็มี ด้านหลังเป็นแอ่งและเป็นรอยตารางลายผ้า
การตัดข้างส่วนใหญ่เป็น 2 แบบ
- ตัดเป็นแบบสี่เหลี่ยมคางหมู ทรงสูง ฐานล่างกว้าง ปลายบนเล็ก
- ตัดเป็นแบบห้าเหลี่ยม ปลายบนตัดเป็นหัวแหลม
- แบบสุดท้ายคือแบบไม่ตัดปีก และแบบตัดปีกกว้างก็มี
พุทธคุณ ครบทุกด้าน ทั้งมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพัน และเมตตามหานิยม
Cr. ข้อมูลโดย : ช้าง-วัดห้วย
ประวัติการแตกกรุช่วงแรก ๆ มีชาวจีนอาชีพปลูกผักอยู่ในเขตวัดพระศรีรัตนมหาธาตุได้ปีนขึ้นไปบนองค์พระปรางค์ จากนั้นก็ได้ไต่ลงไปในองค์พระปรางค์ พบสมบัติต่าง ๆ มากมาย โดยได้เลือกเฉพาะทองคำและอัญมณีที่มีค่าเท่านั้น ส่วนพระเครื่องพระบูชาไม่ได้แตะต้อง จากนั้นก็ขนสมบัติกลับเมืองจีน หลังจากนั้นชาวบ้านรู้ข่าวก็ปีนขึ้นไปองค์พระปรางค์ และขนพระบางส่วนออกมาขาย ที่น่าเสียดายก็คือ ลานทองที่ถูกเผาหลอมละลายไปหลายสิบแผ่น
หลังจากนั้นไม่นาน เจ้าเมืองได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการไปเปิดกรุที่วัดพระศรีรัตน-มหาธาตุอย่างเป็นทางการ เนื่องจากปรากฏว่ามีคนร้ายลักลอบขุดกรุอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในการเปิดกรุครั้งนั้นได้พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายและหนึ่งในนั้นก็คือ "พระผงสุพรรณ" และยังพบแผ่นลานเงินและลานทองบางส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่
จากหลักฐานแผ่นลานทองซึ่งแปลออกมาแล้ว กล่าวว่า มีฤๅษี 11 ตน มีพระฤๅษีพิมพิลา-ไลย พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษีตาวัว เป็นประธานได้สร้างพระพิมพ์โดยนำเอาว่านยาที่มีฤทธิ์กับเกสรดอกไม้และแร่ต่าง ๆ แล้วทำเป็นพระพิมพ์ สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ และพิมพ์ลายมือของท่าน มหาเถระปิยะทัสสี ศรีสารีบุตร ผู้เป็นประธาน และยังได้นำแร่ธาตุต่าง ๆ หล่อเป็นพระพิมพ์ ท่านได้กล่าวว่า มีอนุภาพป้องกันอันตรายได้ ดุจดังกำแพงแก้ว ป้องกันให้ปลอดภัย จากนั้นในลานทองยังกล่าวถึงคุณวิเศษของพระผงสุพรรณว่า "ถ้าผู้ใดได้พบเห็นให้เอาไปไว้สักการะบูชาเป็นของวิเศษ แม้จะมีอันตรายประการใดก็ดี ให้อาราธนาผูกไว้ที่คอ จะคุ้มครองอันตรายได้ทั้งปวง"
พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องศิลปอู่ทอง แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์
- พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
- พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง
- พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม
หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์ พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
1. คิ้วพระด้านขวามือพระจะโค้งตามแนวลูกตาพระ ส่วนคิ้วด้านซ้ายมือพระจะพุ่งเฉียงขึ้น ปลายแยกออกเป็น 2 ง่าม ชนกระจังพระ
2. ให้ดูตาขวาพระจะติดตื้น ส่วนตาซ้ายพระจะติดนูนสูงกว่า ส่วนเบ้าตาข้างขวามือพระจะกว้าง ส่วนด้านซ้ายมือพระจะแคบ
3. โหนกแก้มข้างขวามือพระจะติดนูนสูง ส่วนด้านซ้ายมือพระจะติดตื้นต่ำกว่า เห็นได้ชัด
4. ช่องว่างข้างโหนกแก้มกับใบหูขวาพระจะมีตำหนิพิมพ์เป็นเส้นเล็ก ๆ 2 เส้น ปลายด้านในจะบรรจบชิดกัน เหมือนเครื่องหมายมากกว่า (>)
5. ร่องแก้มข้างจมูกตามลูกศรชี้ข้างขวาพระจะแคบและลึก ส่วนข้างซ้ายพระจะกว้างและตื้นกว่า
6. ใบหูข้างขวาพระจะติดชัดเจน โดยช่วงบนจะโค้งนูนสูง ส่วนด้านล่างช่วงปลายจะตวัดขึ้นเป็นตะขอ ส่วนหูซ้ายพระจะติดไม่ชัดเจนเท่าไหร่ แค่เป็นเส้นตรงเฉียง ๆ เท่านั้น
7. ที่รักแร้ซ้ายพระมีเนื้อเกินเป็นเส้นผ่ากลางระหว่างแขนซ้ายพระกับข้างราวนม ทำให้เกิดหลุมสามเหลี่ยม 2 หลุม หลุมบนใหญ่ หลุมล่างเล็ก
8. ที่ข้างราวนมซ้ายด้านล่าง ตามลูกศรชี้จะมีเม็ดกลมเรียงติดกัน 3-4 เม็ด
9. ที่ข้อมือซ้ายพระตามลูกศรชี้ ถ้าพิมพ์ติดลึก ๆ จะมีเนื้อเกินเป็นเงี่ยง พุ่งเฉียงขึ้น
10. ปลายนิ้วชี้ซ้ายพระตามลูกศรชี้ ถ้าพิมพ์ติดลึก ๆ จะเห็นเนื้อเกินที่ปลายนิ้วโค้งลงมา
11. ที่ข้อมือขวา ตามลูกศรชี้จะเป็นแอ่งเว้าเข้าไป
12. ใต้ขาขวาพระตามลูกศรชี้ จะมีเนื้อเกินเป็นเนินนูนขึ้นมา
13. ใต้ขาซ้ายพระตามลูกศรชี้ จะมีตุ่มเล็ก ๆ 1 ตุ่ม
14. ปลายขาซ้ายพระตามลูกศรชี้ ช่างจะแกะแม่พิมพ์ให้ขาโก่งขึ้นเล็กน้อย
15. ฐานด้านล่างซีกซ้ายมือพระ ตามลูกศรชี้จะเป็นเงี่ยง 2 เงี่ยง เป็นคลื่นไม่เรียบ
16. พื้นผิวในซอกแขนพระทั้งซ้ายและขวามือพระ ถ้ากดพิมพ์ได้ลึกจะเห็นลายเสี้ยนไม้ขึ้นเป็นเส้นตรงเฉียง ๆ พุ่งขึ้นหารักแร้พระ
17. ส่วนด้านหลังพระจะเป็นรอยนิ้วมือกดหลังพระ และส่วนใหญ่ลายนิ้วมือจะเป็นลาย ก้นหอย และถ้าสังเกตให้ลึกเข้าไปอีก ตรงจุดศูนย์กลางของลายก้นหอยจะสึกเลือน ๆ เกือบทุกองค์
เนื้อพระผงสุพรรณ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- เนื้อดิน/มีสีแดง ดำ เหลือง เขียว ด้านหลังมีรอยนิ้วมือกดพิมพ์
- เนื้อชินเงิน จะเรียกว่า พระสุพรรณยอดโถ มีทั้งแม่พิมพ์ตัวเดียวกับเนื้อดิน และแม่พิมพ์คนละตัวกับเนื้อดินก็มี ด้านหลังเป็นแอ่งและเป็นรอยตารางลายผ้า
การตัดข้างส่วนใหญ่เป็น 2 แบบ
- ตัดเป็นแบบสี่เหลี่ยมคางหมู ทรงสูง ฐานล่างกว้าง ปลายบนเล็ก
- ตัดเป็นแบบห้าเหลี่ยม ปลายบนตัดเป็นหัวแหลม
- แบบสุดท้ายคือแบบไม่ตัดปีก และแบบตัดปีกกว้างก็มี
พุทธคุณ ครบทุกด้าน ทั้งมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพัน และเมตตามหานิยม
Cr. ข้อมูลโดย : ช้าง-วัดห้วย