===Not Click=== ===Not Click===

วิธีดูเหรียญปราบฮ่อ 2427

ถ้าจะกล่าวถึงเหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ได้รับความนิยมมีอยู่ด้วยกันหลายเหรียญ แต่เหรียญ       ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ต้องยกให้ “เหรียญปราบฮ่อ” ซึ่งเป็นเหรียญพระราชทานในการปราบปราบโจรฮ่อ และเป็นเหรียญที่หายากมาก ๆ ส่วนใหญ่ใครที่มีครอบครองล้วนแต่เป็นมรดกตกทอดมาทั้งสิ้น ปัจจุบัน “เหรียญปราบฮ่อ” มีราคาสูงมากถึงหลักล้าน ส่วนของเก๊ก็เพียบเลย

หลักเกณฑ์พิจารณาในการพระราชทานเหรียญ

หลังจากการปราบปรามโจรฮ่อจนสำเร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเหรียญ “ปราบฮ่อ” เพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จความกล้าหาญแก่ข้าราชการที่ไปปราบปรามพวกโจรฮ่อ สำหรับหลักเกณฑ์พิจารณาก็คือ ถ้าผู้ใดไปราชการสงครามปราบโจรฮ่อปีใดก็จะได้พระราชทานเหรียญในปีนั้นเลย บางคนไปถึง 2 ครั้ง ก็จะได้ถึง 2 เหรียญ

ผู้ออกแบบเหรียญ    คือสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์

ลักษณะของเหรียญ
    -    เป็นเหรียญกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 31 มิลลิเมตร
    -    ขอบเรียบ หูเชื่อมแบบขวาง

ด้านหน้า มีรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครึ่งพระองค์หันข้าง ขอบเหรียญครึ่งวงกลมด้านบน จารึกตัวอักษรไทยว่า จุฬาลงกรณ์ บรมราชาธิราช ครึ่งวงกลมด้านล่างใต้พระบรมรูป จะปรากฏลายช่อชัยพฤกษ์ตรงกลางผูกโบว์

ด้านหลัง เป็นรูปพระสยามเทวาธิราช ทรงพระแสงของ้าว ทรงประทับอยู่บนหลังช้าง ซึ่งช้างมีลักษณะก้าวเดินเหยียบบนศาสตราวุธ ครึ่งวงกลมด้านบนเหรียญจะมีอักษรไทยว่า ปราบฮ่อ ๑๒๓๙ ๑๒๔๗ ๑๒๔๙


ด้านหน้า

    1.    ใบไม้ใบนี้ตามลูกศรชี้ จะมีเส้นยาวกลางใบ 1 เส้น
    2.    ใบไม้ใบนี้ตามลูกศรชี้ จะมีเส้นสั้น ๆ เยื้องกัน 2 เส้น
    3.    ให้ดูที่หนวด เส้นที่ 2 และ 3 นับจากบนลงล่าง จะเป็นเส้นคู่บาง ๆ ปลายโค้งลงเล็กน้อย (ของเก๊จะติดกันเป็นพรืด)
    4.    คำว่า “ราช” ด้านล่าง “ร” จะมีตุ่มกลมเล็ก ๆ 1 ตุ่ม ตามลูกศรชี้
    5.    รอยเว้าของขอบด้านในจะเป็นตำแหน่งของการเชื่อมหูเหรียญ
    6.    ที่คอเสื้อตามลูกศรชี้ จะเป็นรูป สามเหลี่ยม ค่อนข้างลึก
    7.    เส้นแตกตามขอบเหรียญ เกิดจากบล็อกแม่พิมพ์เริ่มร้าว จึงเกิดเป็นรอยเส้นเล็ก ๆ จึงสันนิษฐานว่า เหรียญนี้จะเป็นเหรียญที่ปั๊มท้าย ๆ แล้ว บล็อกแม่พิมพ์เริ่มชำรุดจึงเกิดรอยร้าวขึ้น
    8.    ตัวหนังสือของเหรียญจะแกะเป็นแท่งเหลี่ยม ให้ดูตัว “ฬ” ตามลูกศรชี้ เส้นตั้งจะมีเนื้อเกินเป็นเส้นนูนยาวลงมา (ต้องดูเหรียญไม่สึกจะเห็นได้ชัด)




ด้านหลัง

    1.    คำว่า “ปราบ” ให้ดูตัว “บ” จะมีขีดดวงเล็ก ๆ สั้น ๆ 1 เส้น ลากตรงลงมาจากหัว “บ”
    2.    หมายเลข “๑๒๓๙” ให้ดูเลข ๙ ปลายหางจะแตกเป็น 2 แฉก
    3.    ขาขวาด้านหน้า ตามลูกศรชี้ ถ้าเหรียญสมบูรณ์คือเหรียญไม่สึก จะเห็นเป็นเส้นขีด   สั้น ๆ ตามแนวนอน เหมือนหนังย่นลงมา 6-7 เส้น
    4.    ขาขวาด้านหน้าตรงหัวเข่าช้าง ตามลูกศรชี้จะมีเม็ดกลม ๆ 1 เม็ด
    5.    ขาขวาด้านหลังจะมีเส้นแตก 1 เส้น พุ่งเฉียงลงมา
    6.    ขาขวาด้านหลังให้ดูเล็บช้างตรงกลางจะมีเล็บ 2 เล็บติดกัน เล็บหน้าสูง เล็บหลังเตี้ย ปลายด้านบนจะเป็นมุมแหลมและยุบจมลงไป
    7.    ขาซ้ายด้านหลังใต้เท้าช้างจะมีเส้น 1 เส้น แต่จริง ๆ ก็คือโบว์
    8.    ที่หน้าอกคนขี่ช้างตามลูกศรชี้จะมีเส้นเล็ก ๆ เป็นเส้นขนานกัน 1 คู่
    9.    ขาขวาด้านหน้าให้ดูที่เล็บช้างเล็บหลัง ด้านบนเล็บจะมีตุ่มกลมอยู่ในร่อง 1 เม็ด
    10.    ให้ดูผ้าคลุมหัวช้าง ตามลูกศรชี้จะมีเส้นแตกวิ่งทะลุออกมา 1 เส้น
    11.    รอยบาก บนปลายดาบ และโคนดาบตามลูกศรชี้ จะบากลึก
    12.    ใต้แขนขวามี 2 ตุ่มกลมเล็ก ๆ ตุ่มล่างใหญ่ ตุ่มบนเล็ก ตามลูกศรชี้
    13.    ผ้าคลุมหลังช้างตามลูกศรชี้จะเป็นร่องลึก ส่วนอีกข้างไม่เป็น
    14.    คิ้วช้างตามลูกศรชี้ ถ้าไม่สึกจะเห็นเป็นร่องลึกอยู่ตรงกลางเส้นคิ้ว





Cr. คุณช้าง วัดห้วย