===Not Click=== ===Not Click===

วิธีดูเหรียญหลวงพ่อคูณปี 17 แท้-ปลอม

เหรียญหลวงพ่อคูณปี 2517 เนื้อทองแดงรมดำเป็นเหรียญปั้ม สันเหรียญค่อนข้างหนา หน้าเหรียญยกขอบขึ้นดูเป็นแอ่งเว้าอย่างเห็นได้ชัด การกระแทกปั้มและเจาะหูเหรียญรวมทั้งการตัดทำให้ขอบเหรียญปลิ้นอย่างเห็นได้ชัด ขออธิบายตามจุดนี้ต่างๆดังนี้ครับ



1. บางเหรียญถูกเจาะหูเหรียญเป็นหลุมกว้างกว่ารูเหรียญที่ทะลุไป รูด้านหลังเหรียญมักจะปลิ้นจากแรงกระแทกเจาะเสมอ
2. บางเหรียญเหนือคำว่าหลวงพ่อมีพบเนื้อเกินเกิดจากบล็อคเริ่มจะแตกมากขึ้น เหรียญนี้เริ่มๆจะสังเกตุเห็นได้แล้วครับ จะเห็นเส้นแตกอยู่เหนือ ตัว ว. ของคำว่าหลวงพ่อ
3. เส้นแตกเริ่มจากหว่างคิ้วลงไปถึงคางของหลวงพ่อ ลักษณะเฉพาะอันเป็นที่มาของ บล็อคหน้าแตก
4. ขอบเหรียญยกสูงรอบเหรียญ พื้นได้ใดดูเป็นแอ่งเล็กน้อยทำให้หลวงพ่อดูเด่นขึ้นมาก
5. มีมุมแหลมพุ่งขึ้นจากหัวไหล่ด้านซ้ายของหลวงพ่อเป็นสันนูนเล็กน้อย
6. โค๊ต วบร. เป็นตัวตอก คมชัด ด้านหลังถูกตอกจะดุ้งตามแรงตอกครับ
7. จุดนี้พบว่าทุกบล็อคมีครับ มีเส้นขนแมวจากตัว อ.วิ่งชนขอบเหรียญ
8. ขอบเหรียญมักจะปลิ้นตามแรงกระแทกปั้มละคมครับ
9. พบเส้นแตกคล้ายๆเส้นขนแปรงที่ตำแหน่งระหว่างคำว่า "ขุน" กับเลข ๑ ด้านหน้าเหรียญ และบริเวณคำว่า "จังหวัด" ด้านหลังเหรียญ
10. เส้นแตกผ่านเลข ๕ ของ พ.ศ. ๒๕๑๗ อันเป็นที่มาของหลังบล็อคเลข ๕ แตก



เหรียญหลวงพ่อคูณปี 17 เป็นเหรียญหลักยอดนิยมของท่าน แต่ด้วยจำนวนสร้างไว้มากก็เลยทำให้ราคาค่านิยมไม่แรงเหมือนเหรียญรุ่นสร้าง บารมีปี 2519 ที่ท่านสร้างเนื้อทองแดงไว้เพียง 2519 เหรียญตามปี พ.ศ. ครับ

เหรียญ ทองแดงรุ่นนี้ บ้างก็มีว่ามีหลายบล็อค บ้างก็ว่ามีไม่กี่บล็อค แต่ปั้มๆไปบล็อคเริ่มแตกจำเกิดตำหนิต่างให้เรียกกันตามตำหนินั้นๆ ซึ่งพอจะรวบรวมบล็อคต่างๆคราวๆได้ดังนี้ครับ (ชื่อบล็อคใช้ตามคำเรียกที่ใช้กันในท้องถิ่น)

บล็อคนิยมสุดก็คือบล็อคนวะ นั่นหมายถึงใช้แม่พิมพ์สำหรับพิมพ์เนื้อนวะ มาปั้มเหรียญเนื้อทองแดงซึ่งจะใช้แม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเหรียญ

แม่พิมพ์เฉพาะด้านหน้าเหรียญ สำหรับบล็อคอื่นที่ไม่ใช่บล็อคนวะ
  1. บล็อคหน้าเรียบ เรียกตามใบหน้าของหลวงพ่อคมชัดคล้ายๆกับใบหน้าหลวงพ่อในบล็อคนวะ
  2. บล็อคหน้าแตก เรียกตามใบหน้าของหลวงพ่อจะมีเส้นแตกผ่ากลางตั้งแต่หวางคิวลงมาถึงคางของหลวงพ่อ
  3. บล็อคอมหมาก เรียกตามลักษณะริมฝีปากของหลวงพ่อมีเนื้อแตกเกินดูคล้ายๆท่านอมหมากเอาไว้
  4. บล็อคคอบาก เรียกตามบริเวณต้นคอด้านขวาของหลวงพ่อมีเส้นแตกจึงเรียกว่าคอบากครับ
ส่วนแม่พิมพ์ด้านหลังเหรียญ ในบล็อคอื่นๆนอกจากบล็อคนวะแยกได้แค่ หลังเลข ๕ แตกกับเลข ๕ ไม่แตกเท่านั้นเองครับ

และ เหรียญที่เรามาเป็นแบบในการศึกษาคราวนี้ได้รับความเอื้อเผื้อจากคุณ Sinchai เจ้าของเหรียญ บล็อคนี้เรียกว่า ....ด้านหน้าเหรียญคือบล็อคหน้าแตก ..ส่วนด้านหลังเหรียญคือบล็อคเลข ๕ แตกครับ..ขอขอบคุณคุณ Sinchai ที่อนุญาตให้เอาเหรียญมาเป็นต้นแบบในการศึกษาครับ

เหรียญหลวงพ่อคูณปี ๑๗เป็นเหรียญเนื้อทองแดงรมดำ รูปไข่มีห่วงในตัว ขนาดกว้าง ๒.๒ ซม. สูง ๓.๕ซม. ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อคูณ หน้าตรงครึ่งองค์ มีเลขไทย "๑" ที่ชายสังฆาฏิ
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าท่านทำเองครั้งแรก ตอกโค้ตที่สังฆาฏิเป็นดวงกลม แบ่ง ๓ ส่วน บรรจุภาษาไทยในแต่ละส่วนว่า "บ.ร.ธ." มาจากชื่อฉายาว่า 'ปริสุทโธ'...............


ด้านบนเขียนว่า "หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ" ด้านล่างว่า "วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด นครราชสีมา".....................
ด้านหลังบรรจุดวงชะตาของ หลวงพ่อคูณ ล้อมด้วยพระคาถาภาษาขอมว่า "สะนิทัสสะนะ อัปปะฏิคา" "มะอะอุ" เป็นพระคาถามหาอุด หยุดกระสุนปืนมิให้ออก
ขืนออกมาจะทำให้ปากกระบอกปืนแตก จึงเชื่อว่าสามารถป้องกันภัยจากปืนได้ ท่านผู้อ่านจะนำไปใช้เป็นพระคาถาภาวนา หลังจากอาราธนาพระเครื่องคล้องคอเพิ่มเติมด้วย
จะเพิ่มพลังความเข้มขลังให้แก่วัตถุมงคลที่ใช้เป็นทวีคูณ.....................

รอบนอกสุดเป็นพระคาถาหลายกลุ่มมารวมกันคือ
"นะโม พุทธยะ" หัวใจพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
"นะมะพะธะ" หัวใจธาตุทั้งสี คือ ดิน น้ำ ไฟ และลม
"มะอะอุ อุอะมะ" หัวใจพระรัตนตรัย คือ มะ มาจากคำว่า มหาสังโฆ อะ มาจากคำว่า อรหัง และ อุ มาจากคำว่า อุตตะมะ ธัมโม.....................

หลวงพ่อคูณว่า มะอะอุ ของท่านนี้มาจากพระอรหันต์ ๓ องค์ คือ มะ มาจาก พระโมคคัลลา อะ มาจาก พระอานนท์ และ อุ มาจาก พระอุบาลี ซึ่งท่านใช้พระคาถาหัวใจพระรัตนตรัยนี้
ลงในแผ่นทอง เป็นตะกรุดฝังที่ใต้ท้องแขนจนมีชื่อเสียงโด่งดังคับประเทศไทยมาแล้ว

"ยานะยา" เป็นคำห้ามว่า อย่านะ (ให้หยุดประพฤติชั่วมุ่งประกอบแต่คุณงามความดี) และพระคาถามหาอุตม์อีกชุดหนึ่งว่า "พุทธังอุด ธัมมังอัด สังฆังดับ อิติปิด".............................
ส่วนบนของยันต์ดวงเป็นยันต์องค์พระ บนยอดสุดบรรจุ "มิ" แถวที่ ๒ว่า "พุทธะสัง" นำมารวมแล้วได้  "พุทธะสังมิ" คือหัวใจตรัยสรณาคม
พุท ย่อมาจาก พุทธัง หมายถึง พระพุทธเจ้า
ธะ ย่อมาจาก ธัมมัง หมายถึง พระธรรม
สัง ย่อมาจาก สังฆัง หมายถึง พระสงฆ์
มิ มาจากคำว่า สรณังคัจฉามิ ซึ่งอยู่เบื้องปลายของพระคาถาบูชาพระรัตนตรัย คือ พุทธังสะระนังคัจฉามิ ธัมมังสะระนังคัจฉามิ สังฆังสะระนังคัจฉามิ ฯลฯ
แถวล่างว่า "ปาอิอาปะ"..........................

พิจารณาจากยันต์พระคาถาที่หลวงพ่อบรรจุ หลังเหรียญรุ่นนี้แล้ว เชื่อว่าดีครบเครื่อง ไม่ว่าจะทางด้านคงกระพันชาตรี ป้องกันภัยจากกระสุนปืน แคล้วคลาด
และเมตตามหานิยมครับ (เอกสารอ้างอิงข้อมูลจากหนังสือเซียนพระ(พิเศษ)) ccc

ขอบคุณ : คุณ KUNPON จาก uamulet