เนื่องจากมีของปลอมออกมาระบาด เพื่อเป็นวัคซีนป้องกันในขั้นต้นสำหรับผู้ที่สนใจพระนางพญาวัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก จึงขอนำเสนอประวัติโดยย่อ และวิธีการดูขั้นต้นให้เพื่อนๆ สมาชิกได้รับทราบ ดังนี้
ประวัติการขุดพบและลักษณะโดยย่อ
พระชุดนี้ที่ขุดพบมี 5 ไห ครับ โดยพระปรีชาวุฒิสาสน์ วุฑฒิโก เลขานุการเจ้าอาวาส ผู้ค้นพบบอกว่า ก่อนหน้านี้ได้นำพระและเณรมาช่วยกันพัฒนาวัดตามปกติ เพื่อทำความสะอาดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรมวันสงกรานต์ที่ใกล้จะถึงนี้(ปี 53) โดยก่อนหน้านี้บริเวณดังกล่าวมีต้นมะม่วงที่ยืนต้นตาย จึงได้ชักชวนพระเณรให้ช่วยกันขุดรากถอนโคนต้นมะม่วงออกเสียเพื่อเปิดพื้นที่ให้กว้างก่อนที่จะพัฒนาเป็นลานกว้างสำหรับจัดกิจกรรมก่อกองทราย และระหว่างที่ขุดรากเหง้าของต้นมะม่วงลึกลงไปประมาณ 1 เมตร จอบเสียมขุดไปโดนปากไหจึงได้ขุดอย่างระมัดระวัง พบว่าเป็นไหที่บรรจุพระเครื่องอยู่จำนวนมาก จึงได้รีบแจ้ง พระครูสิทธิธรรมวิภัช เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ ทราบ พระเณรจึงได้ช่วยกันขุด เบื้องต้นพบไหบรรจุพระจำนวน 5 ไห และจากสอบถามเซียนพระและคนเก่าแก่ในพื้นที่ คาดว่าน่าจะเป็นพระเครื่องที่พระครูอนุโยค ศาสนกิจ หรืออาจารย์อ่ำ อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด จัดสร้าง และฝังไว้เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2469 หรือกว่า 80 ปีที่ผ่านมา
ปี 53 ทางวัดได้นำออกมาให้ประชาชนได้เช่าบูชา จำนวน 3 ไห และปี 54 ได้นำออกมาให้เช่าบูชาอีก 2 ไห พิมพ์ขององค์พระจะมีทั้งเข่าตรง และเข่าโค้ง เป็นพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด สีขององค์พระเท่าที่พบจะมี 3 สี หลักๆ คือ สีดำ (พบน้อยมากๆ) สีน้ำตาลอมดำ (สีมอย พบ 1 ใน 10 โดยประมาณ) และสีเหลืองอมส้ม (มีบางองค์ที่สีจะซีดขาวแต่พบน้อยมากเช่นกัน) จำนวนที่พบไม่แน่ชัด แต่จากการประมาณรวมทั้ง 5 ไหน ไม่น่าจะเกิน 10,000 องค์
ลักษณะเด่นชัดของพระชุดนี้
1) พิมพ์พระซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
2) เนื้อหาและมวลสาร จะมีแร่มงคลต่างๆ อยู่ในส่วนผสมขององค์พระ และจากการที่ถูกฝังมานาน ทำให้เนื้อดินแกร่ง และหดตัว จึงทำให้มวลสารต่างๆ ลอยขึ้นจากองค์ (แร่ลอย)
3) 3 ไหแรก ที่นำออกให้เช่าบูชา เมื่อปี 53 ผิวขององค์พระจะค่อนข้างมัน เพราะมีคราบเทียนหอมเคลือบอยู่ค่อนข้างหนา ทำให้ผิวมันและมีกลิ่นเทียนที่หอมมาก ส่วน 2 ไห ที่นำออกมาให้บูชา ปี 54 ผิวองค์พระจะแห้ง กร่อน มีคาบเทียนติดน้อยมาก กลิ่นเทียนจึงจางน้อยกว่า
4) รอยนิ้วมือด้านหลังจะปรากฎชัดในบางองค์ แต่พบไม่มากนัก
ปัจจุบันมีของเก๊ออกให้บูชาค่อนข้างมาก จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการเช่าบูชาเป็นอย่างยิ่ง
ขอบคุณที่มา : http://www.web-pra.com/Forum/Topic/Show/45861/Page/1
ประวัติการขุดพบและลักษณะโดยย่อ
พระชุดนี้ที่ขุดพบมี 5 ไห ครับ โดยพระปรีชาวุฒิสาสน์ วุฑฒิโก เลขานุการเจ้าอาวาส ผู้ค้นพบบอกว่า ก่อนหน้านี้ได้นำพระและเณรมาช่วยกันพัฒนาวัดตามปกติ เพื่อทำความสะอาดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรมวันสงกรานต์ที่ใกล้จะถึงนี้(ปี 53) โดยก่อนหน้านี้บริเวณดังกล่าวมีต้นมะม่วงที่ยืนต้นตาย จึงได้ชักชวนพระเณรให้ช่วยกันขุดรากถอนโคนต้นมะม่วงออกเสียเพื่อเปิดพื้นที่ให้กว้างก่อนที่จะพัฒนาเป็นลานกว้างสำหรับจัดกิจกรรมก่อกองทราย และระหว่างที่ขุดรากเหง้าของต้นมะม่วงลึกลงไปประมาณ 1 เมตร จอบเสียมขุดไปโดนปากไหจึงได้ขุดอย่างระมัดระวัง พบว่าเป็นไหที่บรรจุพระเครื่องอยู่จำนวนมาก จึงได้รีบแจ้ง พระครูสิทธิธรรมวิภัช เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ ทราบ พระเณรจึงได้ช่วยกันขุด เบื้องต้นพบไหบรรจุพระจำนวน 5 ไห และจากสอบถามเซียนพระและคนเก่าแก่ในพื้นที่ คาดว่าน่าจะเป็นพระเครื่องที่พระครูอนุโยค ศาสนกิจ หรืออาจารย์อ่ำ อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด จัดสร้าง และฝังไว้เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2469 หรือกว่า 80 ปีที่ผ่านมา
ปี 53 ทางวัดได้นำออกมาให้ประชาชนได้เช่าบูชา จำนวน 3 ไห และปี 54 ได้นำออกมาให้เช่าบูชาอีก 2 ไห พิมพ์ขององค์พระจะมีทั้งเข่าตรง และเข่าโค้ง เป็นพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด สีขององค์พระเท่าที่พบจะมี 3 สี หลักๆ คือ สีดำ (พบน้อยมากๆ) สีน้ำตาลอมดำ (สีมอย พบ 1 ใน 10 โดยประมาณ) และสีเหลืองอมส้ม (มีบางองค์ที่สีจะซีดขาวแต่พบน้อยมากเช่นกัน) จำนวนที่พบไม่แน่ชัด แต่จากการประมาณรวมทั้ง 5 ไหน ไม่น่าจะเกิน 10,000 องค์
ลักษณะเด่นชัดของพระชุดนี้
1) พิมพ์พระซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
2) เนื้อหาและมวลสาร จะมีแร่มงคลต่างๆ อยู่ในส่วนผสมขององค์พระ และจากการที่ถูกฝังมานาน ทำให้เนื้อดินแกร่ง และหดตัว จึงทำให้มวลสารต่างๆ ลอยขึ้นจากองค์ (แร่ลอย)
3) 3 ไหแรก ที่นำออกให้เช่าบูชา เมื่อปี 53 ผิวขององค์พระจะค่อนข้างมัน เพราะมีคราบเทียนหอมเคลือบอยู่ค่อนข้างหนา ทำให้ผิวมันและมีกลิ่นเทียนที่หอมมาก ส่วน 2 ไห ที่นำออกมาให้บูชา ปี 54 ผิวองค์พระจะแห้ง กร่อน มีคาบเทียนติดน้อยมาก กลิ่นเทียนจึงจางน้อยกว่า
4) รอยนิ้วมือด้านหลังจะปรากฎชัดในบางองค์ แต่พบไม่มากนัก
ปัจจุบันมีของเก๊ออกให้บูชาค่อนข้างมาก จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการเช่าบูชาเป็นอย่างยิ่ง
ขอบคุณที่มา : http://www.web-pra.com/Forum/Topic/Show/45861/Page/1