เหรียญพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พ.ศ. 2485 ชนิดปั๊ม สระอะจุด (นิยม) แบบรมดำ สภาพผิวเดิมๆ ตำหนิจุดชี้ขาด มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
บริเวณด้านหน้าเหรียญฯ
1. แม้จะไม่มีหูห่วงดั้งเดิมแบบ “แคปซูล” ให้เห็นก็ตาม แต่แนะนำให้ดูลักษณะของ “หูเหรียญ” ซึ่งถูกปั๊มออกมาตามบล็อกของแม่พิมพ์ มักจะมีรอยกด รอยนูน รอยปลิ้น รอยแบน ฯลฯ แม้แต่ขนาดความกว้างรอบวง "ขอบหูเหรียญ” ก็ชี้เป็นชี้ตายได้ เหมือนเหรียญฯ สระอะขีด ยังไงๆ รูก็ต้องเล็กๆ ขอบก็จะหนาๆ แบบนี้
2. เส้นสายลายแทงในแถบของฐานเสมาตรงจุดนี้ จะมี “เอกลักษณ์” เป็นคลื่นๆ หยักๆ และไม่ราบเรียบเหมือนช่วงอื่นๆ ซึ่งจุดนี้เป็น “จุดตาย” สำคัญหนึ่งอย่างเลย เหมือนเหรียญฯ สระอะขีด
3. ขีดที่เห็นเป็น “รอยร่องเล็ก” ในแนวตั้ง มีให้เห็นไม่มากก็น้อย เพราะเกิดจากแม่พิมพ์ในบล็อกดั้งเดิมเองเช่นกัน อาจจะมีให้เห็นชัดๆ ทั้งสองข้างเลย ลักษณะเหมือนเหรียญฯ สระอะขีด
4. ปลายแหลมสุดที่อยู่ใน “ซุ้มโค้ง” เหนือหัวไหล่นี้ ปลายทั้งข้างจะ “แหลมเรียวสุดถึงยอดโดยไม่แตกเป็นแฉก” ทั้งสองข้าง มีลักษณะตรงกันข้ามกับในเหรีียญฯ สระอะขีด ซึ่งปลายแหลมนี้จะแตกแยกออกเป็นแฉกเหมือน “ลิ้นงู” อย่างเห็นได้ชัดเจน
บริเวณด้านหลังเหรียญฯ
1. ร่องรอยของขีดแนวตั้งที่เกิดขึ้น จะมีให้เห็นมากหรือน้อย ก็ถือว่าเป็นตำหนิในพิมพ์แต่เดิมเช่นเดียวกันกับด้านหน้าของเหรียญนะ อาจจะมีให้เห็นชัดๆ ทั้งสองข้างเลยเช่นกัน
2. ลูกศรชี้ให้เห็นถึงที่มาของคำว่า “สระอะจุด” (อีกพิมพ์หนึ่งจะเป็น “สระอะขีด”) และนักสะสมนิยมเล่นเป็นพิมพ์สระอะจุดแบบนี้มากกว่า
3. ลักษณะของตัวอักษรจะไม่แตกซ้อนกัน และมีความคมชัดลึกมากกว่าในเหรียญฯ สระอะขีด อย่างเห็นได้ชัดเจนมาก รวมถึงลักษณะของ “ตัวยันต์” ก็ดูเหมือนกัน
4. โปรดกรุณาพิจารณาเรื่องของ "ขอบหูเหรียญ” ให้แม่นๆ เพราะสามารถชี้เป็นชี้ตายได้จริงๆ
5. ลักษณะของปลายล่างส่วนของ “อกเลา” ตรงจุดนี้ จะมีลักษณะที่แหลมและไม่แตกปลายเลย อันตรงข้ามกับเหรียญฯ สระอะขีด ซึ่งแตกเป็นแฉก และเหลื่อมให้เห็นกันอย่างชัดเจน
ส่วนราคานั้นแบบ “สระอะจุด” นิยมกว่าและมีราคาแพงกว่า “สระอะขีด"
บริเวณด้านหน้าเหรียญฯ
1. แม้จะไม่มีหูห่วงดั้งเดิมแบบ “แคปซูล” ให้เห็นก็ตาม แต่แนะนำให้ดูลักษณะของ “หูเหรียญ” ซึ่งถูกปั๊มออกมาตามบล็อกของแม่พิมพ์ มักจะมีรอยกด รอยนูน รอยปลิ้น รอยแบน ฯลฯ แม้แต่ขนาดความกว้างรอบวง "ขอบหูเหรียญ” ก็ชี้เป็นชี้ตายได้ เหมือนเหรียญฯ สระอะขีด ยังไงๆ รูก็ต้องเล็กๆ ขอบก็จะหนาๆ แบบนี้
2. เส้นสายลายแทงในแถบของฐานเสมาตรงจุดนี้ จะมี “เอกลักษณ์” เป็นคลื่นๆ หยักๆ และไม่ราบเรียบเหมือนช่วงอื่นๆ ซึ่งจุดนี้เป็น “จุดตาย” สำคัญหนึ่งอย่างเลย เหมือนเหรียญฯ สระอะขีด
3. ขีดที่เห็นเป็น “รอยร่องเล็ก” ในแนวตั้ง มีให้เห็นไม่มากก็น้อย เพราะเกิดจากแม่พิมพ์ในบล็อกดั้งเดิมเองเช่นกัน อาจจะมีให้เห็นชัดๆ ทั้งสองข้างเลย ลักษณะเหมือนเหรียญฯ สระอะขีด
4. ปลายแหลมสุดที่อยู่ใน “ซุ้มโค้ง” เหนือหัวไหล่นี้ ปลายทั้งข้างจะ “แหลมเรียวสุดถึงยอดโดยไม่แตกเป็นแฉก” ทั้งสองข้าง มีลักษณะตรงกันข้ามกับในเหรีียญฯ สระอะขีด ซึ่งปลายแหลมนี้จะแตกแยกออกเป็นแฉกเหมือน “ลิ้นงู” อย่างเห็นได้ชัดเจน
บริเวณด้านหลังเหรียญฯ
1. ร่องรอยของขีดแนวตั้งที่เกิดขึ้น จะมีให้เห็นมากหรือน้อย ก็ถือว่าเป็นตำหนิในพิมพ์แต่เดิมเช่นเดียวกันกับด้านหน้าของเหรียญนะ อาจจะมีให้เห็นชัดๆ ทั้งสองข้างเลยเช่นกัน
2. ลูกศรชี้ให้เห็นถึงที่มาของคำว่า “สระอะจุด” (อีกพิมพ์หนึ่งจะเป็น “สระอะขีด”) และนักสะสมนิยมเล่นเป็นพิมพ์สระอะจุดแบบนี้มากกว่า
3. ลักษณะของตัวอักษรจะไม่แตกซ้อนกัน และมีความคมชัดลึกมากกว่าในเหรียญฯ สระอะขีด อย่างเห็นได้ชัดเจนมาก รวมถึงลักษณะของ “ตัวยันต์” ก็ดูเหมือนกัน
4. โปรดกรุณาพิจารณาเรื่องของ "ขอบหูเหรียญ” ให้แม่นๆ เพราะสามารถชี้เป็นชี้ตายได้จริงๆ
5. ลักษณะของปลายล่างส่วนของ “อกเลา” ตรงจุดนี้ จะมีลักษณะที่แหลมและไม่แตกปลายเลย อันตรงข้ามกับเหรียญฯ สระอะขีด ซึ่งแตกเป็นแฉก และเหลื่อมให้เห็นกันอย่างชัดเจน
ส่วนราคานั้นแบบ “สระอะจุด” นิยมกว่าและมีราคาแพงกว่า “สระอะขีด"