===Not Click=== ===Not Click===

วิธีดูขุนแผนพรายกุมารพิมพ์ใหญ่บล็อกแรก เนื้อว่านสบู่เลือด หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง

บล๊อคหินมีดโกน คือ แม่พิมพ์ที่ หนึ่ง สร้างเป็นพระขุนแผน ลองพิมพ์ขึ้นมา ทั้งพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก และหลวงตารอดนำไปกดเป็นเนื้อกระยาสารท แล้วทำแม่พิมพ์ตกแตก จึงไปให้ช่างแกะบล๊อคใหม่เป็นแม่พิมพ์ทองเหลือง

บล๊อคทองเหลือง เป็นแม่พิมพ์ใหม่ที่แกะขึ้นมาหลังจากแม่พิมพ์บล๊อคหินมีดโกนแตก แล้วนำมากดเป็นพระขุนแผน ซึ่งปัจจุบันวงการเรียกแม่พิมพ์ หรือ ขุนแผนที่กดจากแม่พิมพ์นี้ว่า "" บล๊อคสอง "" ซึ่งเป็นพระที่วงการยังไม่ค่อยยอมรับเท่าไหร่นัก ว่าทันหลวงปู่ทิมปลุคเสก เพราะว่า ไปเจอใน กุฎิ หลวงพ่อแก้ว ตอนหลัง แต่ ถ้าดูจากแม่พิมพ์ ที่แกะ เป็น พระขุนแผนพรายกุมาร โดยดูที่ เนื้อ กระยาสารท พิมพ์ ใหญ่ จะเห็นถึงข้อแตกต่าง ระหว่าง บล๊อคสอง และ บล๊อค ลองพิมพ์ เพราะว่า เนื้อกระยาสารทบางองค์ เป็นพิมพ์ บล๊อค สอง ซะส่วนใหญ่ ถ้าเปรียบเทียบจากพิมพ์ องค์พระเสา ซุ้ม มือที่วางจะเห็นได้ว่าเป็นพิมพ์ บล๊อคสองในเนื้อกระยาสารท ดังนั้น จะสรุปได้ว่า บล๊อคสองที่ทันหลวงปู่ทิม ปลุกเสกก็มี



ต่อมาบล๊อคทองเหลืองได้มีการแซะแม่พิมพ์ใหม่ ให้คมชัดกว่าเดิม ซึ่งแกะใหม่แล้ว ก็นำมากดเป็นพระขุนแผนพรายกุมาร ซึ่ง ปัจจุบันเรียกขุนแผนที่กดจากแม่พิมพ์ทองเหลืองที่แกะใหม่ว่า บล๊อคนิยม หรือ "บล๊อคแรก" ในปัจจุบัน ครับ เพราะว่าพิมพ์ทรงของพระ จะคมชัดกว่าเดิม จะสังเกตุได้ว่า บล็อคนิยมในปัจจุบันนี้ บางองค์จะล่ำ บางองค์จะผอม เพราะว่ามีการแกะ และพัฒนาแม่พิมพ์ไปเรื่อยๆ จนองค์พระล่ำใหญ่ และขุนแผนพรายกุมาร บล๊อคนิยมเอง ดูดีดี จะเห็นหน้าตา มีตั้งแต่หน้าหนุ่ม หน้านาง ถ้าสังเกตุอย่างลึกซึ้ง

ขนาด :  2.5 x 4.2 ซม
 
เอกลักษณ์-ลักษณะ 9 จุด-ผงพลายกุมารบล็อกแรก สบู่เลือดแท้ หลวงปู่ทิมพิมพ์ใหญ่ วัดละหารไร่ จ.ระยอง


ด้านหน้าองค์พระ

1.มีเส้นขอบกนกอยู่ในพิมพ์ที่สมบูรณ์
2.ปลายพระเกศสะบัดพลิ้วไม่จดเส้นซุ้ม (ส่องกล้องขยายดู)
3.มี-ก้านช่อกนกชี้เข้ามุมเห็นได้ชัดเจน
4.พระนาภี (ท้อง) ใต้ปลายสังฆาฏิมีริ้วรอยยับย่นจากการเซ็ตตัวของเนื้อว่านผสมผงพลาย บอกอายุความเก่าของพระ
5.ปลายนิ้วชี้พระหัตถ์ ด้านขวานิ้วสะบัดขึ้นด้านบนเล็กน้อย แล้วปลายนิ้วไปจรดที่พระกรซ้าย
6.ทีฐานบัวใต้พระเพลาปลายกลีบบัวจะไม่จรดพระชง (หน้าแข้ง)
7.ปลายนิ้วชี้พระหัตถ์ซ้าย ปลายเรียวแหลมอ่อนซ้อยสวยงาม
8.พื้นผิวองค์พระไม่เรียบเสมอ หรือตรึงแน่น (ต้องเป็นธรรมชาติ)
9.ใบหูบายศรีพริ้วไหวเล็กน้อยปลายไม่จรดบ่า (ส่องกล้องขยายดู)



ด้านหลังองค์พระ

1.ดูธรรมชาติเนื้อพระ(อายุพระ) วรรณะสี ขององค์พระ
2.เส้นยันต์ และ ตัวหนังสือพระแท้ต้องคมชัดเรียวบางสวยงาม ไม่เบลอ