จุดสังเกตุเหรียญโบราณในด้านแม่พิมพ์
เหรียญโบราณตั้งแต่ พ.ศ. 2460-2469 มีจุดสังเกตเกี่ยวกับพื้นฐานของแม่พิมพ์ โดยไม่ได้แยกสำนัก แยกพระเกจิเลยดังนี้
ก. ศิลปะของเหรียญเป็นแบบนูนต่ำ เพราะว่าแกะด้วยมือสังเกตได้จากรูปพระเกจิ-อาจารย์จะไม่นูนสูงขึ้นมาจากพื้นผนังของเหรียญนั้นมาก ลูกตา แก้ม หรือเค้าโครงหน้าจะดูเหมือนมีชีวิตจริงๆตัวอักษรตลอดไปถึงอักขระเลขยันต์ต่างๆทั้งตัวเลขบอก พ.ศ.ก็ดีจะแกะเป็นเลขไทยที่มีศิลปะสวยสดงดงาม ไม่นูนสูงจากพื้นเหรียญมากนักแต่ทว่าจะมีความคมชัดอยู่ในที ไม่เบลอหรือเอียงโย้เย้เลย
ข. เส้นสายรายละเอียดที่นำมาจัดเป็นองค์ประกอบขึ้นรูปจะเป็นเส้นเรียวเล็กบางหากแต่ว่าคมชัดมาก
ค. หูหรือว่าห่วงเหรียญมักจะใช้วิธีเชื่อมติดกับเหรียญด้วยตะกั่วหรือเงินตามแต่โลหะที่นำมาสร้างพระนั้นๆ สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ง. ขอบเหรียญมักจะเรียบไม่ค่อยมีรอยเส้นฟันเลื่อย ขอบเหรียญจะบางและไม่มีความคม เพราะผ่านกาลเวลามานานปริ่มๆร้อยปีเข้าไปแล้ว หากใช้มือลูบดูแล้วมีความคมเหรืออยู่โอกาสที่จะเป็นของเลียนแบบมีสูงมากให้ระวัง
จ. พื้นผนังทั้งด้านหน้าและด้านหลังมักจะตึง การสร้างเหรียญนั้นเกิดจากการกระแทกอย่างแรงของแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังลงบนโลหะ เพราะเช่นนั้นตามหลักวิทยาศาสตร์และหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว เมื่อถูกกระแทกอย่างแรงแล้วพื้นผิวเหรียญต้องเรียบตึง แต่ก็มีเหรียญอีกประเภทหนึ่งที่พื้นผิวเหรียญมีเม็ด”ขี้กลาก”อยู่ซึ่งก็มีอยู่ได้ ขึ้นอยู่กับประวัติการสร้างของทางวัดอีกทีหนึ่ง หากว่าวัดนั้นเกิดสร้างเหรียญมาแล้วเกิดเหตุการณ์ว่าเหรียญเป็นที่ต้องการของประชาชนคนทั่วไปไม่พอกับความต้องการ แล้วปั๊มใหม่โดยใช้แม่พิมพ์ตัวเดิม อาจจะก่อให้เกิดร่องรอยขี้กลากขึ้นได้ แต่ถ้าพบว่าตามประวัติของทางวัดไม่เคยนำเอาแม่พิมพ์ตัวเก่ามาปั๊มใหม่เลยก็แสดงว่าท่านได้เจอกับของเลียนแบบเข้าแล้ว เพราะก่อนการปั๊มเหรียญแบบโบราณ ก่อนที่จะปั๊มจะต้องนำแม่พิมพ์มาขัดทำความสะอาดก่อน โอกาสที่จะเกิดรอยขี้กลากที่พื้นผิวนั้นมักจะไม่มี
ส่วนเหรียญโบราณในยุคกลางตั้งแต่ พ.ศ.2470 ขึ้นมาจะเริ่มมีเหรียญแบบมีห่วงในตัวขึ้นแล้ว ในบางพระเกจิบางหลวงพ่อยังใช้วิธีการสร้างแบบเดิมอยู่ก็มี จุดสังเกตโดยรวมของเหรียญยุคนี้ที่แตกต่างจากเหรียญยุคแรกมีดังนี้คือ
1.ถ้าเป็นเหรียญที่มีหูในตัวต้องมีเศษโลหะปลิ้นพับไปด้านหลัง จุดนี้เกิดจากแรงกระแทกของการปั้มเป็นส่วนของธรรมชาติต้องมีทุกเหรียญทุกคณาจารย์ที่สร้างในยุคนั้น
2.ขอบเหรียญมักจะมีรอยเลื่อยฉลุ ส่วนจุดอื่นเหมือนเหรียญโบราณยุคแรกทั้งหมด
หากว่าท่านมีเหรียญยุคเก่าสักเหรียญหนึ่ง ลองนำเหรียญนั้นมาเทียบกับทฤษฏี ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นดู ว่าเข้ากับหลักเกณฑ์ของเหรียญยุคโบราณหรือไม่ ทั้งหูเหรียญ ขอบเหรียญ ความสูงต่ำของเค้าโครงหน้าและตัวอักษร ว่าตรงกับที่ว่ามาหรือไม่ ถ้าเข้ากับหลักเกณฑ์แล้วก็มาว่ากันต่อที่โลหะของเหรียญต่อไป โลหะเก่านั้นจะไม่มีความแวววาว ความสดใส หากสัมผัสจับต้องแล้วจะเป็นมันๆขึ้นมา ถ้าทิ้งไว้สักครู่ก็กลับคืนสู่สภาพเดิมเพราะว่าเนื้อโลหะมีอายุสูง และวรรณะสีสันของเหรียญเก่านั้นมักจะมีสีซีดจางไม่ว่าจะเป็นทองคำ(มักจะออกแดงๆบางท่านว่าเป็นทองบางสะพาน) ทองแดง เงินและนาก
เหรียญทำเทียมเลียนแบบของเก่า ส่วนมากใช้วิธีถอดพิมพ์มาขนาดของเหรียญจะเล็กกว่าของแท้เพราะการหดตัวของแม่พิมพ์ การถอดพิมพ์เหรียญนั้น จะใช้ซิลิโคนมาถอดเพราะซิลิโคนเป็นของเหลวจะซึมไปได้ทุกอณูของเหรียญแม้แต่เส้นขนแมวหรือจุดลับต่างๆก็ถอดติด (ขึ้นอยู่กับคุณภาพของซิลิโคนที่นำมาถอดพิมพ์ด้วย) รอจนซิลิโคนแข็งตัวแล้วก็ถอดออกแล้วพลิกด้านทำแบบเดิมกับด้านหลังอีกเมื่อแข็งแล้วก็ถอดออกเอาปูนทนไฟมากรอกใส่ไปในยางแม่พิมพ์ที่ได้ เมื่อปูนแข็งตัวแล้วแกะเอาซิลิโคนออกแล้วจึงหลอมเอาโลหะที่จะทำแม่พิมพ์พระนั้นให้ละลายเทใส่ในปูนทนไฟนั้น ทิ้งไว้จนเย็นจึงทุบเอาปูนออกก็จะได้แม่พิมพ์เหรียญที่ถอดพิมพ์มา ผ่านขั้นตอนขนาดนี้เหรียญจะไม่หดตัวยังไงไหว
เหรียญทำเทียมในลักษณะนี้ส่วนมากจะใช้วิธีเหวี่ยงโดยเอาโลหะเหวี่ยงเข้าไปในแม่พิมพ์เหล็กกล้า แล้วจึงตกแต่งพื้นผิวเหรียญโดยใช้น้ำยาเคมี มีเรื่องที่ทำให้สังเกตอย่างหนึ่งคือ เส้นสายรายละเอียดต่างต่างของเหรียญที่ถอดได้จะไม่คม ไม่พลิ้ว เช่นว่า ดวงตาหลวงพ่อจะบี้แบนไม่คมเท่าที่ควร เค้าหน้าจะตื้นกว่าดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ ตัวหนังสืออักขระต่างๆจะล้มเอียงโย้เย้เพราะใช้แรงเหวี่ยงมากนั่นเอง ขอบเหรียญก็เช่นกัน หากเป็นการทำเทียมยุคแรกๆจะทำเป็นห่วงเชื่อมเช่นกัน แต่ตะกั่วที่นำมาเชื่อมจะสีสดดูใหม่อย่างเห็นได้ชัดไม่ซีดแห้งเหมือนของแท้โดยส่วนมากมักจะทำอะไรอำพรางเช่นทำให้เป็นสนิม บิดห่วงให้หัก มีคราบน้ำหมากทับถมอยู่หรือไม่ก็เลี่ยมพลาสติกเลี่ยมทองเพื่ออำพรางร่องรอยทำให้ดูยากเป็นต้นฯ หากเป็นเหรียญในยุค พ.ศ. 2470 ยิ่งทำเทียมยากขึ้นไปอีกเพราะหูเหรียญตรงจุดที่เป็นตาไก่ทำเลียนแบบยากพอสมควร(ปัจจุบันเห็นทำตาไก่ได้แล้วแต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นเป็นรอยคล้ายๆรอยตะไบอยู่ด้านในรูห่วง)แม้ว่าทำได้ก็ดูไม่เป็นธรรมชาติ ในด้านจุดตำหนินั้นเหรียญทำเทียมเลียนแบบเมื่อถอดออกมาจากของแท้แล้วก็ย่อมจะมีเหมือนกัน แต่ก่อนที่จะดูตำหนิให้ไล่ดูตามขั้นตอนต่างๆที่ได้แนะนำเอาไว้ก่อนหากว่าไม่เข้าตามองค์ประกอบที่แนะนำเอาไว้เรื่องตำหนิไม่ต้องพูดถึง.....เพราะของเลียนแบบก็มีตำหนิตรงจุดเดียวกันกับของแท้ทุกประการ แต่เป็นเพราะว่าของทำเทียมมีการหดตัวดังนั้นจึงจะดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติสักหน่อยดูเพี้ยนๆผิดไปจากของจริง แต่ก็อย่างว่าเหรียญของเก่าจริงๆมักจะหาดูเป็นต้นแบบก็ยากเพราะมีราคาแพงเป็นส่วนใหญ่แถมบางท่านมักจะเข้าข้างตัวเองไม่ยอมดูในด้านพื้นฐานเลย มักจะข้ามไปดูที่ตำหนิกันเลยมันก็ต้องมีครบอยู่แล้วเพราะถอดมาจากของจริง ยกเว้นบางจุดเท่านั้นที่จะถอดไม่ค่อยติดตรงนี้เซียนใหญ่ทั้งหลายท่านจะยึดเป็นจุดตายและไม่ยอมสอนให้เพราะเป็นเครื่องมือหากินของเขา พอนักสะสมมือใหม่ไล่ดูตำหนิครบแล้วก็ทึกทักเอาว่าของข้าแท้อย่างเดียวโดยลืมดูธรรมชาติความเก่าของเหรียญไป
ขอขอบคุณ : อาจารย์ เอนก หุตังคบดี
เหรียญโบราณตั้งแต่ พ.ศ. 2460-2469 มีจุดสังเกตเกี่ยวกับพื้นฐานของแม่พิมพ์ โดยไม่ได้แยกสำนัก แยกพระเกจิเลยดังนี้
ก. ศิลปะของเหรียญเป็นแบบนูนต่ำ เพราะว่าแกะด้วยมือสังเกตได้จากรูปพระเกจิ-อาจารย์จะไม่นูนสูงขึ้นมาจากพื้นผนังของเหรียญนั้นมาก ลูกตา แก้ม หรือเค้าโครงหน้าจะดูเหมือนมีชีวิตจริงๆตัวอักษรตลอดไปถึงอักขระเลขยันต์ต่างๆทั้งตัวเลขบอก พ.ศ.ก็ดีจะแกะเป็นเลขไทยที่มีศิลปะสวยสดงดงาม ไม่นูนสูงจากพื้นเหรียญมากนักแต่ทว่าจะมีความคมชัดอยู่ในที ไม่เบลอหรือเอียงโย้เย้เลย
ข. เส้นสายรายละเอียดที่นำมาจัดเป็นองค์ประกอบขึ้นรูปจะเป็นเส้นเรียวเล็กบางหากแต่ว่าคมชัดมาก
ค. หูหรือว่าห่วงเหรียญมักจะใช้วิธีเชื่อมติดกับเหรียญด้วยตะกั่วหรือเงินตามแต่โลหะที่นำมาสร้างพระนั้นๆ สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ง. ขอบเหรียญมักจะเรียบไม่ค่อยมีรอยเส้นฟันเลื่อย ขอบเหรียญจะบางและไม่มีความคม เพราะผ่านกาลเวลามานานปริ่มๆร้อยปีเข้าไปแล้ว หากใช้มือลูบดูแล้วมีความคมเหรืออยู่โอกาสที่จะเป็นของเลียนแบบมีสูงมากให้ระวัง
จ. พื้นผนังทั้งด้านหน้าและด้านหลังมักจะตึง การสร้างเหรียญนั้นเกิดจากการกระแทกอย่างแรงของแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังลงบนโลหะ เพราะเช่นนั้นตามหลักวิทยาศาสตร์และหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว เมื่อถูกกระแทกอย่างแรงแล้วพื้นผิวเหรียญต้องเรียบตึง แต่ก็มีเหรียญอีกประเภทหนึ่งที่พื้นผิวเหรียญมีเม็ด”ขี้กลาก”อยู่ซึ่งก็มีอยู่ได้ ขึ้นอยู่กับประวัติการสร้างของทางวัดอีกทีหนึ่ง หากว่าวัดนั้นเกิดสร้างเหรียญมาแล้วเกิดเหตุการณ์ว่าเหรียญเป็นที่ต้องการของประชาชนคนทั่วไปไม่พอกับความต้องการ แล้วปั๊มใหม่โดยใช้แม่พิมพ์ตัวเดิม อาจจะก่อให้เกิดร่องรอยขี้กลากขึ้นได้ แต่ถ้าพบว่าตามประวัติของทางวัดไม่เคยนำเอาแม่พิมพ์ตัวเก่ามาปั๊มใหม่เลยก็แสดงว่าท่านได้เจอกับของเลียนแบบเข้าแล้ว เพราะก่อนการปั๊มเหรียญแบบโบราณ ก่อนที่จะปั๊มจะต้องนำแม่พิมพ์มาขัดทำความสะอาดก่อน โอกาสที่จะเกิดรอยขี้กลากที่พื้นผิวนั้นมักจะไม่มี
ส่วนเหรียญโบราณในยุคกลางตั้งแต่ พ.ศ.2470 ขึ้นมาจะเริ่มมีเหรียญแบบมีห่วงในตัวขึ้นแล้ว ในบางพระเกจิบางหลวงพ่อยังใช้วิธีการสร้างแบบเดิมอยู่ก็มี จุดสังเกตโดยรวมของเหรียญยุคนี้ที่แตกต่างจากเหรียญยุคแรกมีดังนี้คือ
1.ถ้าเป็นเหรียญที่มีหูในตัวต้องมีเศษโลหะปลิ้นพับไปด้านหลัง จุดนี้เกิดจากแรงกระแทกของการปั้มเป็นส่วนของธรรมชาติต้องมีทุกเหรียญทุกคณาจารย์ที่สร้างในยุคนั้น
2.ขอบเหรียญมักจะมีรอยเลื่อยฉลุ ส่วนจุดอื่นเหมือนเหรียญโบราณยุคแรกทั้งหมด
หากว่าท่านมีเหรียญยุคเก่าสักเหรียญหนึ่ง ลองนำเหรียญนั้นมาเทียบกับทฤษฏี ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นดู ว่าเข้ากับหลักเกณฑ์ของเหรียญยุคโบราณหรือไม่ ทั้งหูเหรียญ ขอบเหรียญ ความสูงต่ำของเค้าโครงหน้าและตัวอักษร ว่าตรงกับที่ว่ามาหรือไม่ ถ้าเข้ากับหลักเกณฑ์แล้วก็มาว่ากันต่อที่โลหะของเหรียญต่อไป โลหะเก่านั้นจะไม่มีความแวววาว ความสดใส หากสัมผัสจับต้องแล้วจะเป็นมันๆขึ้นมา ถ้าทิ้งไว้สักครู่ก็กลับคืนสู่สภาพเดิมเพราะว่าเนื้อโลหะมีอายุสูง และวรรณะสีสันของเหรียญเก่านั้นมักจะมีสีซีดจางไม่ว่าจะเป็นทองคำ(มักจะออกแดงๆบางท่านว่าเป็นทองบางสะพาน) ทองแดง เงินและนาก
เหรียญทำเทียมเลียนแบบของเก่า ส่วนมากใช้วิธีถอดพิมพ์มาขนาดของเหรียญจะเล็กกว่าของแท้เพราะการหดตัวของแม่พิมพ์ การถอดพิมพ์เหรียญนั้น จะใช้ซิลิโคนมาถอดเพราะซิลิโคนเป็นของเหลวจะซึมไปได้ทุกอณูของเหรียญแม้แต่เส้นขนแมวหรือจุดลับต่างๆก็ถอดติด (ขึ้นอยู่กับคุณภาพของซิลิโคนที่นำมาถอดพิมพ์ด้วย) รอจนซิลิโคนแข็งตัวแล้วก็ถอดออกแล้วพลิกด้านทำแบบเดิมกับด้านหลังอีกเมื่อแข็งแล้วก็ถอดออกเอาปูนทนไฟมากรอกใส่ไปในยางแม่พิมพ์ที่ได้ เมื่อปูนแข็งตัวแล้วแกะเอาซิลิโคนออกแล้วจึงหลอมเอาโลหะที่จะทำแม่พิมพ์พระนั้นให้ละลายเทใส่ในปูนทนไฟนั้น ทิ้งไว้จนเย็นจึงทุบเอาปูนออกก็จะได้แม่พิมพ์เหรียญที่ถอดพิมพ์มา ผ่านขั้นตอนขนาดนี้เหรียญจะไม่หดตัวยังไงไหว
เหรียญทำเทียมในลักษณะนี้ส่วนมากจะใช้วิธีเหวี่ยงโดยเอาโลหะเหวี่ยงเข้าไปในแม่พิมพ์เหล็กกล้า แล้วจึงตกแต่งพื้นผิวเหรียญโดยใช้น้ำยาเคมี มีเรื่องที่ทำให้สังเกตอย่างหนึ่งคือ เส้นสายรายละเอียดต่างต่างของเหรียญที่ถอดได้จะไม่คม ไม่พลิ้ว เช่นว่า ดวงตาหลวงพ่อจะบี้แบนไม่คมเท่าที่ควร เค้าหน้าจะตื้นกว่าดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ ตัวหนังสืออักขระต่างๆจะล้มเอียงโย้เย้เพราะใช้แรงเหวี่ยงมากนั่นเอง ขอบเหรียญก็เช่นกัน หากเป็นการทำเทียมยุคแรกๆจะทำเป็นห่วงเชื่อมเช่นกัน แต่ตะกั่วที่นำมาเชื่อมจะสีสดดูใหม่อย่างเห็นได้ชัดไม่ซีดแห้งเหมือนของแท้โดยส่วนมากมักจะทำอะไรอำพรางเช่นทำให้เป็นสนิม บิดห่วงให้หัก มีคราบน้ำหมากทับถมอยู่หรือไม่ก็เลี่ยมพลาสติกเลี่ยมทองเพื่ออำพรางร่องรอยทำให้ดูยากเป็นต้นฯ หากเป็นเหรียญในยุค พ.ศ. 2470 ยิ่งทำเทียมยากขึ้นไปอีกเพราะหูเหรียญตรงจุดที่เป็นตาไก่ทำเลียนแบบยากพอสมควร(ปัจจุบันเห็นทำตาไก่ได้แล้วแต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นเป็นรอยคล้ายๆรอยตะไบอยู่ด้านในรูห่วง)แม้ว่าทำได้ก็ดูไม่เป็นธรรมชาติ ในด้านจุดตำหนินั้นเหรียญทำเทียมเลียนแบบเมื่อถอดออกมาจากของแท้แล้วก็ย่อมจะมีเหมือนกัน แต่ก่อนที่จะดูตำหนิให้ไล่ดูตามขั้นตอนต่างๆที่ได้แนะนำเอาไว้ก่อนหากว่าไม่เข้าตามองค์ประกอบที่แนะนำเอาไว้เรื่องตำหนิไม่ต้องพูดถึง.....เพราะของเลียนแบบก็มีตำหนิตรงจุดเดียวกันกับของแท้ทุกประการ แต่เป็นเพราะว่าของทำเทียมมีการหดตัวดังนั้นจึงจะดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติสักหน่อยดูเพี้ยนๆผิดไปจากของจริง แต่ก็อย่างว่าเหรียญของเก่าจริงๆมักจะหาดูเป็นต้นแบบก็ยากเพราะมีราคาแพงเป็นส่วนใหญ่แถมบางท่านมักจะเข้าข้างตัวเองไม่ยอมดูในด้านพื้นฐานเลย มักจะข้ามไปดูที่ตำหนิกันเลยมันก็ต้องมีครบอยู่แล้วเพราะถอดมาจากของจริง ยกเว้นบางจุดเท่านั้นที่จะถอดไม่ค่อยติดตรงนี้เซียนใหญ่ทั้งหลายท่านจะยึดเป็นจุดตายและไม่ยอมสอนให้เพราะเป็นเครื่องมือหากินของเขา พอนักสะสมมือใหม่ไล่ดูตำหนิครบแล้วก็ทึกทักเอาว่าของข้าแท้อย่างเดียวโดยลืมดูธรรมชาติความเก่าของเหรียญไป
ขอขอบคุณ : อาจารย์ เอนก หุตังคบดี